วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 438 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 106

พ.ศ. 438 วันเกิด

ผู้นำ

1 พฤษภาคม - วันก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกียวโต
5 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ชาวอังกฤษ 2 นาย เริ่มการโทรเลขขึ้นในราชอาณาจักร แต่ยังไม่สำเร็จ
10 พฤษภาคม - ระบบทางรถไฟข้ามทวีปสายแรกของทวีปอเมริกาเหนือ เสร็จสมบูรณ์
1 มิถุนายน - โทมัส เอดิสัน ได้รับสิทธิบัตรเครื่องลงคะแนนเสียงแบบอิเล็กทรอนิกส์
7 สิงหาคม - สุริยุปราคาเต็มดวง (ตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ) เหตุการณ์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาล
มีการค้นพบดีเอ็นเอเป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ทราบถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ.ศ. 2412 วันเกิด

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เครยอน ชินจัง
ชินจังจอมแก่น (「クレヨンしんちゃん」 Kureyon Shinchan) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แนวตลกขบขันเรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ชินจังเป็นการ์ตูนที่น่าสนใจ มีลายเส้นง่าย ๆ ตลก และใกล้ตัว อ่านแล้วอารมณ์ดี. แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ในวงกว้างว่า ทำให้เด็กวัยเดียวกันก้าวร้าว และเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของ NED

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550

พ.ศ. 1449
พุทธศักราช 1449 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 906 - มีนาคม ค.ศ. 907
มหาศักราช 828 พ.ศ. 1449 วันเกิด

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อะแลสกา
มลรัฐอะแลสกา (Alaska) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นมลรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ" มลรัฐอะแลสกามีพื้นที่ทางตะวันออกติดต่อกับดินแดนยูคอนเทร์ริทอรีและรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา ทางใต้ติดต่อกับอ่าวอะแลสกาและมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับทะเลเบริง ช่องแคบเบริง และทะเลชุคชี ส่วนทางเหนือติดกับทะเลโบฟอร์ตและมหาสมุทรอาร์กติก อะแลสกาเป็นมลรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Dysprosium
ดิสโพรเซียม(อังกฤษ:Dysprosium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 66 และสัญลักษณ์คือ Dy ดิสโพรเซียมเป็นธาตุโลหะเอิร์ธหายากมีลักษณะสีเงินวาวอ่อนนุ่มสามารถตัดได้ด้วยมีดมีความเสถียรในอากาศที่อุณหภูมิห้องละลายได้ดีในกรดเจือจางและเข็มข้นโดยจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออกมา

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ทะเลทรายเนเกฟ (Negev) ทะเลทรายเนเกฟตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิสราเอล มีเนื่อที่เพียง 12,000 ตารางกิโลเมตร ทางด้านตะวันตกติดคาบสมุทรซีนาย ด้านตะวันออกติดกับแอ่งทรุด ทะเลทรายมีเนื้อที่เหมือนรูปสามเหลี่ยมกลับหัว

ทะเลทรายเนเกฟ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Ef (ซีริลลิก)
บทความนี้ใช้ชื่อที่ใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
Ef (Ф, ф) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียง /f/ เหมือน f ในภาษาอังกฤษหรือ ในภาษาไทย
อักษรนี้มีวิวัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก ไฟ และใช้แทนอักษร Fita (Ѳ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ซึ่งเคยมีใช้ในภาษารัสเซีย อักษรตัวนี้สามารถถ่ายอักษรให้เป็น f ไม่ใช่ ph ถึงแม้ว่าอักษรละติน F จะมีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ไดแกมมา (Ϝ) ที่เลิกใช้ไปแล้วก็ตาม และไม่เกี่ยวข้องกับอักษรกรีก ไฟ แต่อย่างใด
อักษร Ef มีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 500 และมีชื่อเดิมคือ fr̤̥tǔ

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดสลัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดพระศรีสรรเพชญ" และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช
วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์"

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อำเภอเชียงแสน
อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ด้านตะวันออกติดกับแม่น้ำโขง ตรงกับข้ามกับประเทศลาว ภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า
อำเภอเชียงแสนแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 6 ตำบล

เวียง
ป่าสัก
บ้านแซว
ศรีดอนมูล
แม่เงิน
โยนก

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

พรรคก้าวหน้า
พรรคก้าวหน้า สามารถหมายถึง


พรรคการเมืองในประเทศไทย

  • พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)
    พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2541)
    พรรคก้าวหน้า (สิงคโปร์) (Progressive Party)

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

พ.ศ. 885
พุทธศักราช 885 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 342 - มีนาคม ค.ศ. 343
มหาศักราช 264 วันเกิด

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ภาษาเขมร เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์
ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์

สัทวิทยา
เสียงพยัญชนะ f/ฟ ปรากฏในคำยืมบางคำ เสียงพยัญชนะ ʃ, z และ g ปรากฏในคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส และคำยืมใหม่อื่น ๆ

สระ
คำในภาษาเขมรมักจะประกอบด้วย 1 หรือ 2 พยางค์ มีเสียงอักษรควบจากพยัญชนะ 2 ตัวอยู่ที่ปรากฏที่ต้นพยางค์อยู่ 85 เสียง และมีอักษรควบจากจาก พยัญชนะ 3 ตัวอยู่ 2 เสียง ดังตาราง
ภาษาเขมร แต่ละพยางค์จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะหรือพยัญชนะควบกล้ำ ตามด้วยเสียงสระ แต่ละพยางค์สามารถจะมีเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ลงท้าย เมื่อใช้เสียงสระสั้น จะต้องลงท้ายด้วยพยัญชนะ
โครงสร้างของคำในภาษาเขมรที่มีมากที่สุดเป็นพยางค์เต็มตามที่อธิบายไว้ข้างบน ต่อหน้าด้วยพยางค์สั้นที่มีโครงสร้าง CV-, CɽV-, CVN- หรือ CɽVN- (C เป็นพยัญชนะ V เป็นสระ N เป็น m/ม, n/น, ɲ หรือ ŋ/ง). สระในพยางค์สั้นเหล่านี้มักจะออกเสียงเป็น ə ในภาษาพูด
คำต่าง ๆ สามารถประกอบด้วย 2 พยางค์เต็มได้
คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอื่น ๆ

พยางค์และคำ
ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท
ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนรวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น"มเปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "dreey" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้านเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroich โกรชในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น koich โคช

ภาษาถิ่น
ลำดับคำในภาษาเขมรมักจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาเขมรประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่การสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำก็มีมาก

อักษรเขียน
กล่าวได้ว่าภาษาเขมรมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยอยธยา โดยปรากฏในปริบทต่างๆ ดังนี้
1. ในวรรณคดี (เช่น ลิลิตยวนพ่าย, โคลงกำสรวล, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง) ได้แก่ ไถง, ผกา, ผอูน, แข, อัญขยม, ฉนำ ฯลฯ
2. ในภาษาพูดทั่วไป เช่น จมูก, ถนน, เสมียน, ตำรวจ ฯลฯ
3. ในราชาศัพท์ เช่น ขนง, โขนง, เขนย, บรรทม ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550

กีตาร์เบส
"เบส" เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้นๆว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสจะมีรูปร่างใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลักๆในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่างๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การจิ้มสาย การโซโล่ การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น
เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่นๆในประเภทวง String คือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติของเบส) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่างๆก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่
เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว
เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่างๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่นๆอีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย ,9 สาย เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วิตามินเค
วิตามินเค (Vitamin K) เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ

วิตามินเค แหล่งที่พบ
อาการที่แสดงถึง ภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกระโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรกของทารกแรกเกิด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกมีไขมันสะสมน้อย ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ประกอบกับวิตามินเคที่ผ่านมาทางรกและน้ำนมจากมารดานั้นมีปริมาณน้อย
สำหรับภาวะขาดวิตามินเคในผู้ใหญ่นั้น มักเกิดร่วมกับสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน หลังจากการผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้าง
การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจ เวลาโปรธรอมบิน (prothrombin time ; PT) ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเคจะใช้เวลานานกว่าปกติ หรือตรวจปริมาณวิตามินเคโดยตรงด้วยวิธี HPLC
การรักษาทำได้โดยให้วิตามินเคในรูปยาฉีด 10 มิลลิกรัมครั้งเดียว ในผู้ป่วยที่โรคเรื้อรังอื่นอาจเสริมด้วยวิตามินเคในรูปยากิน 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ในรูปยาฉีด 1-2 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์


ส่วนหนึ่งของ คริสต์ศาสนา
พระเยซู หรือรู้จักในชื่อ เยซูแห่งนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth) (เกิด ประมาณ 6–4 ปีก่อน ค.ศ. - ประมาณ ค.ศ. 29–33) เป็นชาวยิวซึ่งเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา ชาวคริสต์เรียกเยซูแห่งนาซาเร็ธว่า พระเยซูคริสต์ (Jesus Christ) และถือว่าพระองค์เป็นพระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรของพระเป็นเจ้า และเป็นหนึ่งในพระตรีเอกภาพ
คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ Ιησους [Iēsoûs] ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua [เยชูวา] ในภาษาอาราเมกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีเรียค ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" ( The Saviour อเมริกันเขียนเป็น Savior) เป็นชื่อโหลในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้
ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า Χριστός [Christos] ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น กษัตริย์มหาปุโรหิต ศาสดาประกาศก เป็นต้น
เมื่ออาณาจักรยูดาห์เสียแก่แบบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้น ชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า
"คริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัว ผู้นิพนธ์พระวรสารชอบเรียกพระผู้ไถ่ว่า "เยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่นๆที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "เยซูชาวนาซาแรธ" หรือ "เยซูบุตรของโยเซฟ"
แต่นักบุญเปาโลชอบเรียกว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มีบ้าง

ประวัติของพระเยซู
เราจะพิจารณาในสิ่งที่เห็นได้ชัดในตัวพระเยซูเจ้า และสิ่งที่คนที่ได้พบปะ กับพระองค์ตามถนนหนทาง ในสมัยที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
วิธีการแต่งกาย
พระเยซูเจ้าทรงแต่งกายอย่างไร? หลายคนพากันคิดว่าพระองค์คงแต่งตัวมอซอ แต่ในความเป็นจริงแล้วพระองค์ทรงแต่งตัวดี พระเยซูเจ้าทรงแต่งตัวต่างจากนักบุญยอนห์ บับติสต์ที่บ่งบอกถึงความแตกต่างในฐานะ เมื่อเทียบกับพระองค์ (เทียบ มธ 11:18-19)
ชุดของพระเยซูเจ้าเป็นชุดเดียวกันกับชาวยิวผู้เคร่งครัดตามการกำหนดของกฎหมาย (เทียบ กดว 15:38; ฉธบ 22:2) โดยประดับชายเสื้อด้วยภู่หลากสี พระเยซุเจ้าทรงตำหนิพวกฟาริสีและธรรมาจารย์ในเรื่องการใช้ภู่สียาวๆประดับชายเสื้อ (เทียบ มธ 23:5) ทั้งๆที่พระองค์ก็ทรงใช้เช่นเดียวกัน ดังที่เห็นได้จากเหตุการณ์ที่หญิงเป็นโรคตกเลือดพยายามที่จะแตะภู่ชายเสื่อของพระองค์ (เทียบ มธ 9:20-22)
เสื้อยาวที่พระเยซูเจ้าทรงสวมได้รับการทอเป็นพิเศษ ทอเป็นผืนเดียวกันไม่มีตะเข็บ เพราะเหตุนี้เองพวกทหารจึงได้ใช้วิธีจับ ฉลากเสื้อยาวของพระองค์ เพราะไม่อยากจะตัดเป็นชิ้นส่วน (เทียบ ยน 19:23-24)
ผู้มีอำนาจบารมี
ชุดที่พระเยซูทรงสวมใส่บอกถึความเป็นผู้ดีของพระองค์ ในเวลาเดียวกัน พระบุคคลทั้งครบของพระองค์ยังเต็มด้วยความสูงส่งและอำนาจด้วย ใครก็ตามที่มาพบพระองค์ แม้จะเป็นคนต่างชาติต่างพากันเรียกว่า "พระองค์เจ้าข้า" ด้วยความเคารพ ดังที่ปราก ฏในกรณีของนายร้อยทหารแห่งเมืองคาเปอรนาอุม (เทียบ มธ 15:22-28)
เมื่อผู้คนได้ฟังพระองค์ทรงเทศนาสั่งสอน พวกเขาต่างพากันเรียกพระองค์ว่า "พระอาจารย์เจ้าข้า" แม้แต่ศัตรูของพระองค์ก็ยังเรียกพระองค์ว่าเป็นอาจารย์ เช่นว่า บรรดาฟาริสี (เทียบ มธ 22:16) ซัดดูสี (เทียบ มธ 22:24) บัณฑิตทางกฎหมาย (เทียบ มธ 22:36) เป็นต้น
ความสูงส่งของพระองค์ทำให้มีคนเชิญพระองค์ไปรับประทานอาหารที่บ้านของคนมีหน้ามีตาในสังคมบ่อยๆ และแม้แต่ฟาริสีเ องก็ยังเชื้อเชิญพระองค์ด้วย (เทียบ ลก 7:36-50;11:37;14,1) ซึ่งเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดกาวิพากษ์วิจารณ์และถือเป็นที่สะดุดจากผู้ที่คิดว่าตนเป็นคนดี ศรัทธาโดยเฉพาะเมื่อทรงไปร่วมโต๊ะกับคนเก็บภาษี (เทียบ มธ 9:10; ลก 5:29; 15:1-2)
เนื่องจากทุกคนให้การยอมรับในความเป็นพระอาจารย์ของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงอธิบายพระวาจาของพระเจ้าอย่างเป็นทา งการในศาลาธรรมเมืองคาเปอรนาอุม (เทียบ มก 1:21-22) และในศาลาธรรมที่นาซาเร็ธ (เทียบ มก 6:2) นอกจากประชาชนจะถือว่าพระองค์เป็นพระอาจารย์แล้ว พระเยซูเจ้าเองก็ทรงประกาศไว้เช่นนั้น "ท่านทั้งหลายเรียกเราว่าอาจารย์และองค์พระผู้เป็นเจ้า ก็ถูกแล้วเพราะเป็นอย่างนั้นจริงๆ" (ยน 13:13)
การเข้าสังคม
พระเยซูเจ้าทรงคบค้ากับคนประเภทไหนบ้าง? พระองค์ทรงคบค้ากับทุกคน บุคคลที่พระองค์ทรงเทศน์สอนนับตั้งแต่พวกชุม พาบาล ชาวประมง ชาวนา คนขายแรงงาน ซึ่งพระองค์มักใช้เป็นตัวละครในอุปมาของพระองค์ ไปจนถึงคนมีตำแหน่งและความรู้ อาทิ ธรรมาจารย์และฟาริสีเป็นต้น
กระนั้นก็ดี พระองค์จะให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่คนต่ำต้อยและอยู่ชายขอบสังคมสังคม "ท่านทั้งหลายที่เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาพบเราเถิด เราจะให้ท่านได้พักผ่อน" (มธ 11:28) แต่ในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็ไม่ปฏิเสธผู้ที่เป็นหัวหน้าศาลศาลาธรรมและนายร้อยทหารโรมัน
พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า ไม่ไช่ผู้ที่มีฐานะเหนือคนอื่นจะได้เปรียบ (เทียบ มธ 11:25 พระองค์ทรงเก็บซ่อนเรื่องเหล่านี้จากผู้มีปรีชาและรอบรู้ แต่ทรงเปิดเผยแก่บรรดาผู้ต่ำต้อย)
ในเวลาเดียวกัน พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่าคนร่ำรวยขากจะเอาตัวรอดไปสวรรค์ ส่วนคนยากจนถือว่าเป็น "ผู้มีบุญลาภ" เพราะส ามารถเข้าสวรรค์ได้ง่ายกว่า (เทียบ มธ 19:23; ลก 6:20-25) กระนั้นก็ดี พระองค์ก็ทรงยืนยันว่า ไม่มีใครจะสิ้นหวัง เพราะทุกอย่างเป็นไปได้สำหรับพระเจ้า แม้ทรงทำให้อูฐสามารถลอดรูเข็ม (เทียบ มธ 19:26)
นอกนั้น พระเยซูเจ้ายังทรงติดต่อกับคนร่ำรวยหลายคน เช่นว่า โยเซฟ อาริมาเธีย (เทียบ มธ 27:57) เจ้าของห้องอาหารค่ำ ( มก 14:15 "เขาจะชี้ให้ท่านเห็นห้องใหญ่ชั้นบน ปูพรหมไว้เรียบร้อย") โยอันนา ภรรยาของคูซา ข้าราชบริพารของกษัตริย์เฮโรด (เทียบ ลก 8:3) ครอบครัวที่เบธานี ที่นั่นมารีย์มีน้ำหอมสมุนไพรบริสุทธิ์ซึ่งยูดาสตีราคาให้สามร้อยเหรียญและได้ใช้ชโลมพระบาทของพระเยซูเจ้าด้วยความรัก (เทียบ ยน 12:3-5)
บ้านพักของพระเยซูเจ้า
บุคคลที่มีอันจะกินเหล่านี้ต่างเปิดบ้านให้พระเยซูเจ้าพัก เพื่ออย่างน้อย ในขณะที่เดินทางไปเทศนาสั่งสอนพระองค์จะได้มีที่พั กที่สมพระเกียรติ
พระวาจาที่ว่า "สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง นกในอากาศยังมีรัง แต่บุตรแห่งมนุษย์ไม่มีที่จะวางศรีษะ" (เทียบ มธ 8:20) ต้องตีความให้ถูกต้อง พระเยซูเจ้าตรัสกับธรรมาจารย์คนหนึ่งที่แสดงความปรารถนาจะติดตามพระองค์ เพื่อบอกให้เขารู้ว่าการจะติดตามพระองค์ ร่วมมือในภารกิจของพระองค์นั้น จะต้องทำใจในเรื่องที่พักซึ่งจะหาความถาวรแน่นอนและหรูหราไม่ได้
ถ้าจะตีความประโยคนี้ตามลายลักษณ์อักษร ก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้งกับสิ่งที่มีเล่าไว้ในพระวรสาร เมื่อไปที่กาลิลี พระองค์จะทรงพักที่บ้านของนักบุญเปโตร (เทียบ 1:29-35) จากที่นี่ พระองค์เสด็จไปเทศน์สอนในเมืองใกล้เคียงและกลับมาพัก "ต่อมาอีกสองสามวันพระเยซูเจ้าเสด็จกลับมาที่เมืองคาเปอรนาอุม เมื่อเป็นที่รู้กันว่าพระองค์ประทับอยู่ในบ้าน ประชาชนจำนวนมากจึงมาชุมนุมกันจนไม่มีที่ว่างแม้กระทั่งที่ประตู" (มก 2:1-2)
นอกนั้น พระเยซูเจ้าทรงพักตามที่ต่างๆ ชั่วคราว "เมื่อเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง ประชาชนมาชุมนุมกันอีก" (มก 3:20) พระองค์จะทรงพูดคุยกับสาวกเป็นการส่วนตัวในบ้านและจะทรงเทศน์สอนประชาชนในที่แจ้ง "เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปในบ้าน ห่างประชาชน บรรดาศิษย์จึงทูลถามพระองค์ถึงข้อความที่เป็นปริศนานั้น" (มก 7:17) นอกนั้น ในช่วงเวลาที่ทรงอยู่ด้วยกันในบ้าน พระองค์ก็ทรงตอบคำถามแง่ปฎิบัติและคำถามส่วนตัวด้วย "เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง บรรดาศิษย์ทูลถามพระองค์เป็นทางการส่วนตั วว่า 'ทำไมเราจึงขับไล่มันไม่ได้?'" (มก 3:30)
เมื่ออยู่นอกอาณาเขต อย่างเช่นที่เมืองฟีนีเซีย พระองค์ก็ทรงมีบ้านพัก "พระองค์เสด็จเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง ไม่ทรงต้องการให้ผู้ใดรู้" (มก 7:24)
เมื่อเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม พระองค์ทรงไปพักที่หมู่บ้านเบธานี ที่นั่น พระองค์ทรงมีเพื่อนที่ถวายที่พักและความอบอุ่นแบบคร อบครัวให้แก่พระองค์ โดยมีมารธาและมารีย์คอยดูแล ตามที่มีบันทึกไว้ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา (เทียบ ลก 10:38-42) คาดว่าพระองค์ทรงพักอยู่ที่นี่ในช่วงก่อนจะทรงถูกจับ
ทรงแข็งแรงและสุขภาพดี
ในคำบรรยายของพระวรสาร เราเห็นได้ว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นคนสุขภาพดี ร่างกายกำยำ ทนความเหน็ดเหนื่อยยากลำบากไ ด้อย่างดี พระองค์ทรงเริ่มต้นวันใหม่แต่เช้าตรู่ "พระองค์ทรงลุกขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่ เสด็จออกจากบ้านไปยังที่สงัดและทรงอธิฐานภาวนาที่นั่น" (มก 1:35)
ในโอกาสพิเศษ พระองค์จะทรงอธิษฐานทั้งคืน "ครั้งนั้น พระองค์เสด็จขึ้นไปบนภูเขาและทรงอธิฐานภาวนาต่อพระเจ้าตลอดคืน ครั้นถึงรุ่งเช้า พระองค์ทรงเรียกบรรดาศิษย์เข้ามาแล้วทรงคัดเลือกไว้สิบสองคน" (ลก 6:12-13)
พระองค์ทรงสามารถรับมือกับกิจกรรมที่หนักและต่อเนื่อง นักบุญมาร์โกยืนยันว่า "พวกเขาไม่มีเวลาแม้จะทานอาหาร" (เทียบ มก 3:20; 6:31)
แต่ละวันของพระองค์นั้นลำบาก มีผู้คนหลั่งไหลกันมาหาพระองค์ทั้งวันทั้งคืน คนเจ็บคนป่วยมาขอให้พระองค์รักษา ผู้ที่กระหายความจริงมาฟังพระองค์ นักเทววิทยาพากันมาถกเถียงกับพระองค์ พอมีเวลาจะพัก คนก็แห่มาพบพระองค์ "ซีโมนและผู้ที่อยู่กับเข าตามหาพระองค์ เมื่อพบแล้วจึงทูลพระองค์ว่า 'ทุกคนกำลังแสวงหาพระองค์'" (มก 1:36-37)
พระเยซูเจ้าทรงเป็นนักเดินตัวยง แต่พระองค์ก็ทรงรู้สึกเหน็ดเหนื่อยด้วยเหมือนกัน ดังที่นักบุญยอห์นได้เขียนไว้ "พระเยซูเจ้าทรงเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง(จากยูเดียถึงสะมาเรีย) จึงประทับนั่งที่ขอบบ่อน้ำ" (ยน 4:6) ภารกิจของพระองค์จึงเป็นการจาริกที่ต่อเนื่องไปทั่วปาเลสไตน์ไปจนถึงเมืองซีซารียาแห่งฟีลิปและอาณาเขตของไทระและไซดอน
พึงสังเกตว่า การเดินทางจากเมืองเยรีโคสู่กรุงเยรูซาเล็ม เป็นการเดินทางที่หน้าลำบากมากเป็นพิเศษ "เส้นทางอยู่กลางแดดจัด ไม่มีร่มไม้ ผ่านไปตามกองหิน ในที่เปลี่ยว และต้องใช้เวลาเดินทางถึงหกชั่วโมง ขึ้นจากระดับน้ำทะเลมากกว่าพันเมตร" (K. ADAM, Gesu' il Cristo Brescia 1944, p.88)
ความงดงาม
พระเยซูเจ้าทรงมีโฉมหน้างดงามหรือขี้เหร่? คำถามนี้อาจจะขัดแย้งกับความคิดเห็นในช่วงแรกๆ ของพระศาสนจักร ซึ่งในช่วงนั้นมีแต่การเน้นแง่อุดมคติของพระองค์จึงไม่มีการพูดถึงประเด็นนี้แต่อย่างใด แหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก็ไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ ทว่า มีเหตุการณ์หนึ่งในพระวรสารของนักบุญลูกาที่ทำให้เราพอจะเข้าใจประเด็นนี้ได้บ้าง
"ขณะที่พระเยซูเจ้ากำลังตรัสอยู่นั้น สตรีผู้หนึ่งร้องขึ้นในหมู่ประชาชนว่า 'หญิงที่ให้กำเนิดท่านและให้นมเลี้ยงท่านช่างเป็นสุข จริง'แต่พระองค์ตรัสตอบว่า 'คนทั้งหลายที่ฟังวาจาของพระเจ้าและปฎิบัติตามย่อมเป็นสุขกว่านั้นอีก'" (ลก 11:27-28)
ดวงตาของพระองค์
มีองค์ประกอบหนึ่งของความงดงามของมนุษย์ซึ่ง แม้จะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสรีระ แต่ก็สะท้อนถึงชีวิตฝ่ายจิตได้ดีเยี่ยม นั่นคือ ประกายตา พระเยซูเจ้าทรงให้ข้อสังเกตว่า "ประทีปของร่างกายคือดวงตา ดังนั้น ถ้าดวงตาของท่านเป็นปกติดี สรรพางค์กายของท่านก็สว่างไปด้วย" (มธ 6:22)
ดวงตาของพระเยซูเจ้าคงต้องเป็นประกาย มองทะลุและเป็นเหมือนแม่เหล็ก ใครก็ตามที่ได้สบตากับพระองค์จะไม่มีวันลืมเลย จึงไม่แปลกที่มีการกล่าวถึงสายตาของพระองค์บ่อยๆในพระวรสาร (โดยเฉพาะในพระวรสารโดยนักบุญมาร์โกที่พูดถึงความทรงจำของนักบุญเปโตร)
เพื่อจะเข้าใจเรื่องนี้ เราต้องเก็บรายละเอียดจากสิ่งมีกล่าวในพระวรสาร คำว่า "มอง" บ่งบอกการกระทำสามอย่าง คือ "มองรอบๆ" "มองขึ้นเบื้องบน" และ "มองเข้าไป"
มองรอบๆ
ทุกครั้งที่พระเยซูเจ้าทรงมองไปรอบๆ ทุกคนเงียบสงบด้วยความเกรงกลัวและทึ่ง สายตาของพระองค์เชื้อเชิญทุกคนให้สำรว มก่อนที่พระองค์จะเทศน์สอน (เทียบ ลก 6:20) เป็นการมองที่เต็มด้วยความรักและความเป็นหนึ่งเดียวกับศิษย์ "พระองค์ทอดพระเนตรผู้ที่นั่งล้อมเป็นวงอยู่ ตรัสว่า 'นี่คือมารดาและพี่น้องของเรา'" (มก 3:34) พระองค์ทรงมองรอบๆเพื่อเตรียมจิตใจคนให้พร้อมที่จะฟังคำสอนที่ไม่ซ้ำแบบใครและไม่มีใครคาดคิดมาก่อน "พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรโดยรอบ แล้วตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า 'ยากจริงหนอที่คนมั่งมีจะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า อูฐลอดรูเข็มยังง่ายกว่าคนมั่งมีเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า'" (มก 10:23-25)
บางครั้งก็เป็นการมองแบบเงียบๆ ทว่าเต็มด้วยความไม่พอใจและเจ็บปวด ซึ่งตรึงทุกคนที่อยู่ที่นั่น จนไม่กล้าโต้ตอบ "พระองค์จึงทอดพระเนตรเขาเหล่านั้นด้วยความกริ้วและเศร้าพระทัย เพราะจิตใจหยาบกระด้างของพวกเขา แล้วตรัสสั่งชายมือลีบว่า 'จงเหยียดมือออก'" (มก 3:5)
มองขึ้นเบื้องบน
พระเยซูเจ้าทรงมองขึ้นหาพระบิดาเจ้าขณะที่ทรงภาวนา เพื่อขอให้พระบิดาเจ้าสดับฟังพระองค์ (เทียบ มก 6:41; 7:34) พระองค์ทรงมองขึ้นไปที่เจ้าหน้าที่เก็บภาษีซึ่งปีนขึ้นไปอยู่บนต้นมะเดื่อเทศเหมือนเด็กซุกซน พร้อมกับทรงยิ้ม "เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงที่นั่น ทรงเงยพระพักต์ขึ้นทอดพระเนตร ตรัสกับเขาว่า 'ศักเคียส รีบลงมาเถิดเพราะเราจะไปพักที่บ้านท่านวันนี้'" (ลก 19:5)
มองเข้าไป
ทุกคนรู้สึกประทับใจมากเมื่อพระเยซูเจ้า "ทรงมองเข้า ไป" ในตัวบุคคล ราวกับจะมองเข้าไปถึงจิตใจ พระองค์ทรงมองเช่นนั้ น เมื่อทรงต้องการจะสื่อความจริงบางอย่าง และทรงอยากให้คนฟังได้จดจำสิ่งนั้นให้ดีดังเช่น กรณีที่มีบันทึกในพระวรสาร "พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรบรรดาศิษย์ แล้วตรัสว่า 'สำหรับมนุษย์เป็นไปไม่ได้ (ที่คนรวยจะเข้าสวรรค์) แต่สำหรับพระเจ้าเป็นเช่นนั้นได้'" (มก 10:27)"พระเยซูเจ้าทรงเพ่งมองหน้าเขา ตรัสว่า 'ทุกคนที่ล้มลงบนหินก้อนนี้ (พระเมสสิยาห์ พระบุตรของพระเจ้า) จะแหลกเป็นชิ้นๆ หินก้อนนี้ตกทับผู้ใด ผู้นั้นจะแหลกเป็นชิ้นๆเช่นเดียวกัน'" (ลก 20:17-18)
เมื่อทรงอยู่ต่อหน้าชายหนุ่มที่ร่ำรวยซึ่งขอคำแนะนำเพื่อจะได้รับชีวิตนิรันดรนั้น พระองค์ "ทอดพระเนตรเขาด้วยพระทัยเอ็นดู" (มก 10:21) สาวกเปโตรได้รับการมองจากพระเยซูเจ้าสองครั้ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาทั้งหมด ในการพบกับพระองค์เป็นครั้งแรก "พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเห็นเขาจึงตรัสว่า 'ท่านคือซีโมน บุตรของยอห์น ท่านจะมีชื่อว่า เคฟาส แปลว่า เปโตร หรือ ศิลา'" (ยน 1:42) พระองค์ทรงมองเขาอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เขาได้พูดปฎิเสธพระองค์ "พระเยซูเจ้าทรงเหลียวมามองเปโตร เปโตรจึงระลึก ถึงพระวาจาของพระองค์...เขาจึงออกไปข้างนอก ร้องไห้อย่างขมขื่น" (ลก 22:61-62)
สรุป
เราสามารถค้นหารายละเอียดในพระวรสารเพื่อนำมาปะติดปะต่อให้ได้ภาพลักษณ์ภายนอกของพระเยซูเจ้าได้อีกหลายแง่ แต่สิ่งที่เราได้พบก็น่าที่จะทำให้เราสามารถมีภาพลักษณ์ภายนอกของพระเยซูเจ้าได้พอสมควร เราจึงอยากจะเข้าไปค้นหาให้ลึกซึ้งก ว่านี้ เพื่อจะได้เค้าร่างด้านจิตวิทยาของพระองค์
การค้นหาที่ประทับใจ
จิตใจของมนุษย์เป็นโลกที่ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถจะหยั่งเข้าไปได้อย่างทั่วถึง การเข้าถึงความมั่งคั่งแห่งจิตใจและจิตวิทยาขอ งพระเยซูเจ้ายิ่งยากมากกว่านั้นเป็นไหนๆ กระนั้นก็ดี แม้ว่าการค้นหานี้จะยาก แต่ก็น่าประทับใจน่าดึงดูดและไม่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าเป็นเช่นนั้นเราต้องทำด้วยความสุภาพ และสำนึกในขีดจำกัดแห่งความรู้ของเรา
ในการค้นหานี้ เราได้รับความช่วยเหลือจากพระวรสารซึ่งมีการพูดถึงพระเยซูเจ้าค่อนข้างจะมาก ทั้งในแง่ของประจักษ์พยาน สถานการณ์ ความคิดเห็น ทัศนคติ ความรัก ความรู้สึก อารมณ์ และวิธีแสดงออกในพฤติกรรม
ความชัดเจนของความคิด
สิ่งที่เด่นในคำสอนของพระเยซูเจ้าคือความชัดเจนพระองค์ทรงประกาศความจริงอย่างชัดถ้อยชัดคำ ในคำสอนแต่ละอย่าง เราจะไม่พบถ้อยคำที่แสดงออกถึงความลังเล สงสัย เช่นว่า "บางที" "ตามแง่ของฉัน" "ฉันว่ามันน่าจะ" ซึ่งเรามักจะใช้เมื่อพูด ในเวลาเดียวกันก็ไม่มีอะไรส่อให้เห็นว่ามีความไม่ดีแอบแฝง หรือความคิดจะเอาใจคนฟังซึ่งทำให้คำพูดคำจาอ่อนพลังลง
พระเยซูเจ้าทรงแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจจนบางครั้งทำให้คนฟังรู้สึกรำคาญ ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงต้องการจะสื่อสิ่งที่สูงส่งด้วยความชัดเจน
แม้ว่าพระองค์จะตรัสสอนหลายเรื่อง แต่คำสอนของพระองค์มีเอกภาพและสอดคล้องกัน ทุกสิ่งที่พระองค์สอนรวมอยู่สองประเ ด็นใหญ่นี้ กล่าวคือ "พระบิดา" (ผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่ง) และ "พระอาณาจักร" ซึ่งเป็นเป้าหมายของสรรพสิ่ง หลังจากผ่านการจารึกในประวัติศาสตร์
การให้ความสนใจแก่ความจริงแห่งมนุษย์
พระเยซูไม่ได้เป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ที่หมกมุ่นอยู่กับความคิด จนไม่สนใจสิ่งเล็กน้อยรอบตัว พระองค์ไม่ไช่ซุปเปอร์แมนที่ไม่ยอ มลดตัวลงมาในเรื่องที่ไม่เด่นดังหรือไม่มีเกียรติ แต่พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและมีความพึงพอใจกับสิ่งต่างๆ ของชีวิตประจำวัน
สิ่งที่พระองค์ตรัสสอนและอุปมาที่ทรงเล่า มักจะเกี่ยวโยงไปกับชีวิตคนสมัยนั้น เช่นว่า เด็กร้องเพลงเพราะหิวเด็กเล่นตามลานสาธารณะพยายามเอาชนะกันด้วยการใช้คำคมและสุภาษิตโบราณ "คนยุคนี้เป็นเหมือนเด็กๆที่นั่งตามลานสาธารณะ ร้องบอกเพื่อ นๆ ว่า 'เราเป่าขลุ่ยเจ้าก็ไม่เต้นรำ เราร้องเพลงเศร้า เจ้าก็ไม่ร้องไห้'" (ลก 7:32) หรือเพื่อนบ้านที่มารบกวนจนเจ้าบ้านต้องลุกเอาขนมปังให้ หรือหญิงที่ไม่ยอมเลิกราจนกว่าจะพบเหรียญที่หายไป หรือแม่ที่ต้องเจ็บปวดยามคลอดบุตร
แต่แล้วก็ลืมความเจ็บปวดจนหมดสิ้นเมื่อมองลูกที่เกิดใหม่ หรือคนใช้ที่ถือโอกาสตอนที่นายไม่อยู่สนุกสนานกันเต็มที่ หรือผู้จั ดการที่ทุจริตและเจ้าเล่ห์ หรือความวุ่นวายในงานสมรส หรือคนปล่อยเงินกู้ หรือขโมยที่งัดแงะเข้าบ้านในเวลาที่เจ้าของบ้านไม่ได้คาดคิด หรือคนเดินทางที่ถูกโจรปล้นและทำร้ายหรือคนตกงานที่อยู่ตามลานรอให้มีคนมาจ้าง หรือแม่บ้านที่ผสมเชื้อแป้งลงในถังเพื่อให้แป้งฟูขึ้น ฯลฯ
คนที่พูดเรื่องเหล่านี้ได้ ต้องเป็นคนที่ไม่เอาแต่หมกมุ่นกับตนเอง แต่รู้จักมองรอบๆ ตัวและมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันด้วยความพอใจ
พระเยซูเจ้าทรงสอดสิ่งเล็กสิ่งน้อยเข้าไปในอุปมาที่ทรงเล่า อาทิ แก้วและจานที่ต้องล้าง ตะเกียงและไส้ตะเกียงเกลือที่ใช้ทำกับข้าว น้ำเย็นแก้วหนึ่ง เหล้าองุ่นเก่าที่รสชาติดีเสื้อขาด ฟางและท่อนไม้ รูเข็ม ความเสียหายที่เกิดจากตัวมอดและสนิม ความไม่คงทนของดอกไม้ในทุ่งหญ้าใบอ่อนของต้นมะเดื่อ ข้าวละมาน เมล็ดข้าวที่ตกบนพื้นดินแล้วส่งผลแตกต่างกัน อวนของชาวประมงที่ได้ทั้งปลาดีและปลาที่ต้องทิ้งไป แกะที่หลงฝูง เป็นต้น
ที่พูดนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะยืนยันได้ว่า พระเยซูเจ้าไม่เหมือนพวกอุดมการณ์จัด ที่อยู่กับทฤษฎีและมองไม่เห็นสิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาแห่งชีวิตประจำวัน
การที่พระเยซูเจ้าทรงให้ความสนใจเรื่องเล็กน้อย เป็นรูปธรรม ทำให้พระองค์สามารถนำมาใช้เพื่อถ่ายทอดเรื่องยิ่งใหญ่ให้ค นธรรมดาฟังแล้วเข้าใจ แม้กระทั่งเรื่องสูงส่งเกี่ยวกับพระเจ้า พระองค์ก็ทรงถ่ายทอดด้วยคำพูดง่ายๆ และไม่ซ้ำแบบใคร คำพูดของพระองค์จึงไม่เหมือนกับคำพูดพูดของนักคิดหรือนักการเมือง
น้ำใจที่หนักแน่น
นอกจากความปรีชาและประสิทธิภาพของคำพูดคำจาแล้ว เราพบว่าพระเยซูเจ้าทรงมีน้ำใจแข็งแกร่ง ซึ่งทำให้พระองค์ทรงเลือกกระทำด้วยความเด็ดเดี่ยวและรวดเร็ว พร้อมกับยึดมั่นในสิ่งที่ทรงตั้งใจไว้อย่างไม่ลังเลพระองค์ทรงมุ่งมั่นทำภารกิจให้สำเร็จด้วยความเต็มใจ
บ่อยครั้ง พระองค์ทรงแสดงออกภายนอกถึงความมุ่งมั่นนี้ให้เห็นชัดเจน สร้างความทึ่งให้แก่ทุกคนที่อยู่กับพระองค์ "พระเยซูเ จ้าทรงตั้งพระทัยแน่วแน่จะเสด็จไปกรุงเยรูซาเร็ม" (ลก 9:51)
พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้นำที่เดินหน้าไปตามเส้นทางที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ด้วยความเด็ดเดี่ยว จนทำให้คนที่ล้อมรอบพระองค์ต้องพากันพิศวง ทึ่ง และว้าวุ่นใจไม่น้อย "เมื่อบรรดาศิษย์กำลังเดินทางขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม พระเยซูเจ้าเสด็จนำเขาไป เขาต่างประหลาดใจ และมีความหวาดกลัว" (มก 10:32)
ทรงเป็นอิสระจากญาติพี่น้องและฝ่ายตรงข้าม
พระเยซูเจ้าทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นคนอิสระ ไม่มีใครยับยั้งความตั้งใจของพระองค์ได้ พระองค์ทรงเป็นอิสระจากหัวหน้าประชาชนและคนที่ทำตัวเป็นศัตรูกับพระองค์ และพยายามกีดกันงานของพระองค์คือ พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า "พระบิดาของเราทรงทำงานอยู่เสมอ เราก็ทำงานด้วยเช่นกัน" (ยน 5:17)
พระองค์ทรงยอมรับและให้ความเคารพผู้ที่อยู่ในอำนาจ แต่ไม่ทรงเกรงกลัวคนที่ใช้อำนาจอย่างผิดๆ อย่างพวกฟาริสีและพวก ธรรมาจารย์ เป็นต้น (เทียบ มธ 23:32) พระองค์ไม่ทรงลังเลที่จะประณามพวกซัดดูสีที่ทำหน้าที่สงฆ์ผู้สูงศักดิ์อย่างตรงไปตรงมา "ท่านคิดผิดแล้ว เพราะไม่เข้าใจพระคัมภีร์และไม่รู้จักพระอานุภาพของพระเจ้า" (มธ 22:29) พระองค์ทรงเรียกเฮโรดผู้ปกครองแคว้นกาลิลีว่า "สุนัขจิ้งจอก" (เทียบ ลก 13:32)
ผู้ที่ทำตัวเป็นศัตรูกับพระองค์ต่างก็รู้ดีถึงความตรงไปตรงมาของพระองค์ อย่างเช่นพวกฟาริสีและบางคนที่เป็นฝ่ายกษัตริย์เฮโ รดเคยพูดกับพระองค์ว่า "พระอาจารย์ พวกเรารู้ว่า ท่านเป็นคนเที่ยงตรงไม่ลำเอียง ท่านไม่เห็นแก่หน้าใคร แต่สั่งสอนวิถีของพระเจ้าตามความจริง" (มก 12:14)
อิสระจากเพื่อน
พระเยซูเจ้าทรงเป็นอิสระจากเพื่อนที่ให้ความรักและสนใจพระองค์ ทุกครั้งที่พวกเขาขัดแย้งกับภารกิจที่พระองค์ทรงทำ กรณีของนักบุญเปโตรเป็นกรณีที่ฮือฮามาก เมื่ออยู่ด้วยกันที่เขตเมืองซีซารียาแห่งฟิลิป พระเยซูเจ้าทรงชมนักบุญเปโตรที่ได้รับการดลใจ และประกาศว่าพระองค์เป็นใคร แต่หลังจากนั้น นักบุญเปโตรพยายามจะทัดทานไม่ให้พระอาจารย์เดินไปตามเส้นทางแห่งกางเขน พระองค์ก็ได้ทรงตำหนิเขาอย่างรุนแรง "เปโตรนำพระเยซูเจ้าแยกออกไป ทูลทัดทานว่า 'ขอเถิด พระเจ้าข้า เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้นกับพระองค์เด็ดขาด' พระเยซูเจ้าทรงหันมาตรัสแก่เปโตรว่า 'เจ้าซาตานไปให้พ้น เจ้าเป็นเครื่องมือกีดขวางเราเจ้าไม่คิดอ ย่างพระเจ้า แต่คิดอย่างมนุษย์'" (มธ 16:21-23)
ในช่วงวิกฤติ เมื่อศิษย์หลายคนคิดที่จะเลิกติดตามพระองค์เพราะพระองค์ตรัสว่าจะมอบ "เนื้อ" และ "โลหิต" ของพระองค์ก็ยังทรงยืนกราน ไม่เปลี่ยนคำพูดเพื่อรักษาความเป็นเพื่อน พระองค์ไม่สร้างความเป็นหนึ่งโดยปราศจากความจริง พระองค์ตรัสถามสาวกว่า "พวกท่านจะไปด้วยหรือ?" เป็นคำพูดของพระผู้ไถ่ ที่เด็ดขาดมาก และที่ต้องจดจำไว้
อิสระจากความคิดเห็นของผู้อื่น
พระเยซูเจ้าทรงเป็นอิสระจากความคิดเห็นที่ชั่วร้ายและไม่มีข้อมูลที่คนพูดเกี่ยวกับพระองค์ พระองค์ทรงเดินหน้าไปอย่างไม่หวาดหวั่น แม้จะต้องเสียความนิยมไป "บุตรแห่งมนุษย์มากินและดื่ม เขาก็ว่า 'ดูซิ นักกิน นักดื่ม เป็นเพื่อนกับคนเก็บภาษีและคนบาป'" (มธ 11:19)
พระองค์ทรงถือหลักเดียวกันกับที่พระองค์ทรงเตือนเราไว้ "วิบัติจงเกิดกับท่านเมื่อทุกคนกล่าวยกย่องท่านเพราะบรรดาบรรพ บุรุษของเขาเหล่านั้นเคยกระทำเช่นนี้กับบรรดาประกาศกเทียมมาแล้ว" (ลก 11:19)
ความละเอียดของจิตใจ
บ่อยครั้งคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองและชอบอิสระมักจะมีจิตใจกระด้าง เมินเฉยต่อความทุกข์ของผู้อื่น และไม่ค่อยไส่ใจใครแต่พระเยซูเจ้าไม่ได้เป็นเช่นนี้ แม้พระองค์จะเป็นอิสระแต่ก็มีอารมณ์และความรู้สึก
เมื่ออยู่ต่อหน้าคนที่อ้างกฎเกณฑ์เพื่อผลประโยชน์พระองค์อดไม่ได้ที่จะรู้สึกโกรธ อย่างเช่นในกรณีของชายมือลีบที่มีคนนำมาให้พระองค์รักษาในวันสับบาโตหมายจะจับผิดพระองค์ (เทียบ มก 3:1-6) พระองค์จึงทรงเรียกชายมือลีบมายืนตรงกลาง ต่อหน้าทุกคน ทรงมองไปรอบๆด้วยความโกรธ และเศร้าเพราะจิตใจที่กระด้างของพวกเขา
ความเมตตาสงสาร
ในพระวารสาร เราจะเห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงมีความเมตตาสงสารในความทุกข์ยากของมนุษย์ มีการใช้ศัพย์ที่บอกถึงความสงสารที่สะเทือนไปถึงกายและใจ
พระองค์ทรงรู้สึกเช่นนั้นเมื่อได้ยินเสียงร้องขอความเมตตาของคนตาบอดสองคนที่เมืองเยรีโค "พระเยซูเจ้าทรงรู้สึกสะเทือนใจ" (มธ 20:34) เมื่อทรงเห็นความทุกข์ของหญิงม่ายที่เดินตามศพของบุตรชายคนเดียว "ก็ทรงสงสารและตรัสกับนางว่า 'อย่าร้องไห้ไปเลย'" (ลก 7:13)
เมื่อทรงเห็นประชาชนหิว พระองค์ตรัสกับสาวกว่า "เราสงสารประชาชน เพราะเขาอยู่กับเรามาสามวันแล้ว และเวลานี้ไม่มีอ ะไรกิน" (มก 8:2) เมื่อทรงเห็นผู้คนสับสน และไร้ผู้นำทาง "พระองค์ทรงสงสารเพราะเขาเหล่านั้นเป็นดังฝูงแกะที่ไม่มีคนเลี้ยง" (มก 6:34)
มิตรภาพ
พระเยซูเจ้าทรงเข้าถึงมิตรภาพในขั้นสูงสุด พระองค์ทรงเรียกสาวกของพระองค์ว่า "เพื่อน" (เทียบ ยน 15:5) เป็นมิตรภาพท ี่เต็มด้วยความเอาใจใส่ระแวดระวัง พระองค์ทรงเป็นห่วง เมื่อเห็นพวกเขาเหน็ดเหนื่อย "ท่านทั้งหลายจงมาพักผ่อนกับเราตามลำพังในที่สงัดสักหน่อยหนึ่งเถิด" (มก 6:31) พระองค์ทรงมีความสนิทสนมกับเปโตร ยากอบ และยอห์น เป็นพิเศษ
และทรงประสงค์ให้พวกเขาอยู่กับพระองค์ ทั้งเมื่อพระองค์ทรงเข้าตรีทูต ที่สวนเกทเสมนี (เทียบ มก 14:32-42) ทว่ามีแต่ย อห์นผู้เดียวเท่านั้น ที่พระองค์ทรงให้ความรักเป็นพิเศษ "ศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรัก" (เทียบ ยน 13:23; 19:5; 20:2; 21:7,20)
นอกจากสาวกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงรักครอบครัวหนึ่งที่เมืองเบธานีเป็นพิเศษ "พระเยซูเจ้าทรงรักมารธากับน้องสาวและลาซารัส" (ยน 11:5)
เด็กและผู้หญิง
ความรักที่พระเยซูเจ้าทรงมีต่อเด็กนั้นเห็นได้เด่นชัด "มีผู้นำเด็กเล็กๆ มาเฝ้าพระเยซูเจ้าเพื่อทรงสัมผัสและอวยพรแต่บรรดาศิษย์กลับดุว่าคนเหล่านั้น เมื่อทรงเห็นเช่นนี้ทรงกริ้ว ตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า 'ปล่อยให้เด็กเล็กๆมาหาเราเถิด อย่าห้ามเลย เพราะพร ะอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของคนที่เหมือนเด็กเหล่านี้มาหาเราเถิดอย่าห้ามเลย เพราะพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของคนที่เหมือนเด็กเหล่านี้' แล้วพระองค์ทรงอุ้มเด็กเหล่านั้น ทรงปกพระหัตถ์และประทานพรให้ " (มก 10:13-16)
พระองค์ทรงมีท่าทีสุภาพอ่อนโยนต่อผู้หญิงและทรงปกป้องพวกเขา
พระองค์ทรงช่วยผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกจับได้ว่าผิดประเวณีไม่ให้โดนทุ่มหินตาย (เทียบ ยน 8:1-11) ทรงชมหญิงคนบาปที่เทน้ำ หอมและใช้น้ำตาชโลมพระบาทขณะที่พระองค์เสวยอาหารอยู่ในบ้านของฟาริสีคนหนึ่ง (เทียบ ลก 7:36-50) พระองค์ทรงตำหนิยูดาสและคนร่วมโต๊ะอาหารที่วิพากษ์วิจารณ์มารีย์ น้องสาวของลาซารัส
เมื่อนางชโลมพระบาทของพระองค์ด้วยน้ำหอมราคาแพง "ปล่อยนางเถิด ทำให้นางยุ่งยากใจทำไม นางได้ทำกิจการดีต่อเรา..." (เทียบ มก 14:6)
การร้องไห้และความยินดี
พระเยซูเจ้าทรงมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนร่วมชาติ และทรงสามารถควบคุมความรู้สึกได้เป็นเยี่ยมพระองค์ไม่ทรงหวั่นไหว ต่อหน้าพายุแรงกล้าที่กำลังจะพัดให้เรือจม (เทียบ มก 4:35-41) พระองค์ทรงเผชิญหน้ากับชาวนาซาเร็ธ ที่กำลังเดือดดาลและอยากฆ่าพระองค์ด้วยท่าทีที่สงบ แทบจะสะกดจิตทุกคน "เมื่อคนที่อยู่ในศาลาธรรมได้ยินเช่นนี้ ทุกคนโกรธเคืองยิ่งนัก
จึงลุกขึ้นขับไล่พระองค์ออกไปจากเมือง นำไปที่หน้าผาของเนินเขาที่เมืองตั้งอยู่ ตั้งใจผลักพระองค์ลงไป แต่พระองค์ทรงดำเนินฝ่ากลุ่มคนเหล่านั้น แล้วเสด็จจากไป" (ลก 4:28-30)
พระองค์ไม่ไช่สุภาพบุรุษในยุคของราชินีวิกตอเรียนที่ไม่ยอมแสดงออกซึ่งความรู้สึกใดๆ พระองค์ไม่ลังเลใจที่จะแสดงความรู้ สึกออกมา อย่างเช่นเมื่อทรงเห็นมารีย์ น้องสาวของลาซารัสที่ร่ำไห้ "เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเห็นนางร้องไห้และชาวยิวที่ตามมาก็ร้องไห้ด้วย พระองค์ทรงสะเทือนพระทัยและเศร้าโศรกมาก" (เทียบ ยน 11:33)
เมื่อทรงเห็นว่าเพื่อนตายไปเห็นว่าเพื่อนตายไป พระองค์ก็ทรงกรรแสง "ชาวยิวจึงพูดว่า 'ดูซิ พระองค์ทรงรักเขาเพียงไร'" (เทียบ ยน 11:35-36)
เมื่อทรงมองจากที่สูงเห็นกรุงเยรูซาเล็มและทรงเห็นล่วงหน้าว่ากรุงเยรูซาเล็มจะถูกทำลายพระองค์ทรงระงับน้ำตาไว้ไม่อยู่ "ขณะที่พระเยซูเจ้าเสด็จมาใกล้กรุงเยรูซาเล็ม พระองค์ทอดพระเนตรเมืองนั้นแล้วทรงพระกันแสง ตรัสว่า 'ถ้าในวันนี้เจ้าเพียงแต่รู้จักทางนำไปสู่สันติก็จะเป็นการดี'" (เทียบ ลก 19:41-42)
แต่พระองค์ก็ทรงมีความกระตือรือร้นด้วย ซึ่งก่อให้เกิดความยินดีแก่ศิษย์ที่ออกไปเทศนาและกลับมารายงานให้พระองค์ทราบ "ศิษย์ทั้งเจ็ดสิบสองคนกลับมา เต็มตื้นด้วยความยินดี...ในเวลานั้นเองพระเยซูเจ้าทรงปลาบปลื้มในพระจิตเจ้าและตรัสว่า " ข้าแต่พระบิดา ลูกขอสรรเสริญพระองค์ ผู้ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์และแผ่นดิน" (เทียบ ลก 10:17-21)
ดังนั้น พระเยซูเจ้าทรงรู้จักร้องไห้และร่าเริงยินดี พระวรสารก็ยืนยันเช่นนั้น แม้แต่พวกคนเก็บภาษีซึ่งเป็นพวกชอบชีวิตเริงร่าสนุกสนานก็ยังเชิญพระองค์ไปร่วมเสวยด้วย
เมื่อทรงเห็นประชาชนหิวโหยและหมดแรง พระองค์ก็ทรงจัดการให้พวกเขามีกิน กระนั้นก็ดี พระองค์จะไม่ทรงทำลายบรรยากาศสนุกสนานของคนร่วมโต๊ะด้วยข้อคิดที่ชวนให้เศร้า หรือพูดถึงความหิวโหยของโลกอย่างไม่รู้กาลเทศะ
นักบุญเปาโลลอกเลียนแบบพระเยซูเจ้าในการประกาศว่ากฎที่งดงามกว่าหมดสำหรับพฤติกรรมคือ "จงร่วมยินดีกับผู้ที่ยินดี จ งร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้" (รม 12:15)
ความเป็นชาวยิว
หลายครั้งที่การเน้นความเต็มเปี่ยมแห่งการเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า ทำให้เรามองพระองค์ว่าสูงส่งและอยู่เหนือสังกัดแห่งชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมไป ทำเหมือนกับว่าพระองค์ไม่สังกัดอยู่กลุ่มใดและไม่เกี่ยวโยงกับผู้ใด
ในความเป็นจริงแล้ว พระเยซูเจ้าทรงคิด ตรัส และ ทรงกระทำเหมือนชาวอิสราเอลแท้ พระองค์ทรงเป็นชาวยิวคนหนึ่งอย่างไ ม่ต้องสงสัย ใครที่มองข้ามสิ่งนี้ไปก็ไม่มีวันเข้าถึงพระองค์ได้อย่างทัจริง และจะมีภาพลักษณ์ที่ผิดๆของพระองค์
ทัศนคติ ความเข้าใจและภาษาที่พระองค์ตรัสมีลักษณะจำเพาะของชาวนาซาเร็ธ พระองค์ทรงอ้างพระคัมภีร์บ่อยๆ พระองค์ทรงสอดแทรกชื่อของบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รักใคร่ของชาวอิสราเอล อาทิ อับราฮัม โมเสส ดาวิด ซาโลมอน อิสยาห์ ฯลฯ เข้าไปในคำสั่งสอนของพระองค์โดยตลอด
พระองค์ทรงเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองของบรรดาอาจารย์สอนศาสนา และทรงใช้ในการโต้แย้งกับพวกเขา พระองค์ทรงทำให้ธรรมาจารย์และฟาริสีถึงกับพูดไม่ออก เมื่อมีการตีความเกี่ยวกับบทสดุดีที่ 110 (เทียบ มก 12:35-37; มธ 22:44-46)
ลักษณะวรรณกรรมเซมีติก
คำสอนของพระเยซูเจ้าเป็นรูปแบบวรรณกรรม เซมีติก (ภาษาที่พระเยซูเจ้าทรงใช้พูด) ประโยคที่พระองค์ทรงเป็นไปตามครรลองขอ งโครงสร้างแบบแนวขนานเราจะดูแค่บางตัวอย่าง
แนวขนานแบบธรรมดา "ศิษย์ยอมไม่อยู่เหนืออาจารย์และผู้รับใช้ย่อมไม่อยู่เหนือนาย" (มธ 10:24) "ถ้วยที่เราจะดื่มนั้น ท่านจะได้ดื่ม และการล้างที่เราจะรับนั้นท่านก็จะได้รับ (มก 10:39)
แนวขนานแบบขัดแย้ง
"ต้นไม้พันธุ์ดีย่อมเกิดผลดี ต้นไม้พันธุ์ไม่ดีย่อมเกิดผลไม่ดี ต้นไม้พันธุ์ดีจะเกิดผลไม่ดีมิได้ และต้นไม้พันธุ์ไม่ดีก็ไม่อาจเกิดผลดีได้" (มธ 7:17-18)
แนวขนานแบบเป็นท่อน ๆ
"ผู้ใดฟังถ้อยคำเหล่านี้ของเราและปฏิบัติตามก็เปรียบเหมือนคนมีปัญญาที่สร้างบ้านไว้บนหิน ฝนจะตก น้ำจะไหลเชี่ยว ลมจะพัดโหมเข้าใส่บ้านหลังนั้น บ้านก็ไม่พัง เพราะมีรากฐานอยู่บนหิน ผู้ใดที่ฟังถ้อยคำเหล่านี้ของเราและไม่ปฏิบัติตามก็เปรียบเสมือนคนโง่เขบาที่สร้างบ้านหลังนั้นมันก็พังทลายลงและเสียหายมาก" (มธ 7:24-27)
หัวใจ
หัวใจของพระเยซูเจ้าก็เป็นหัวใจยิว พระองค์ทรงรักแผ่นดินและประชากรของพระองค์มาก และให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก พระองค์ทรงสำนึกว่าพระองค์ทรงถูกส่งมาเพื่อแผ่นดินและประชากรของพระองค์ "เราถูกส่งมาเพื่อแกะที่พลัดหลงของวงศ์วานอิสราเ อลเท่านั้น" (มธ 15:24) พระองค์ทรงส่งสาวกไปประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้าให้แก่แผ่นดินและประชากรของพระองค์
โดยทรงกำชับว่า "อย่าเดินตามทางของคนต่างชาติ อย่าเข้าไปในเมืองของชาวสะมาเรีย แต่จงไปหาแกะพลัดฝูงของวงศ์วานอิสราเอลก่อน" (มธ 10:5-6) เราได้เห็นว่า ความคิดถึงอนาคตของเมืองกษัตริย์ดาวิดทำให้พระองค์ทรงพระกันแสง (เทียบ ลก 19:41-42)
ความเป็นคนครบครัน
พระเยซูเจ้าทรงเป็นชาวอิสราเอลเคร่งครัดและทรงถือขนบธรรมเนียมทุกอย่างของชาติ ทุกวันสับบาโตพระองค์ทรงไปที่ศาลา ธรรมเฉกเช่นคนอื่น ทรงฉลองปัสกาทุกปีตามจารีตที่กำหนดไว้ ทรงจ่ายภาษีบำรุงพระวิหารเหมือนทุกคน "ผู้เก็บภาษีบำรุงพระวิหาร เข้ามาหาเปโตรถามว่า อาจารย์ของท่านไม่เสียเงินบำรุงพระวิหารหรือ ? เปโตรตอบว่า เสียซิ (มธ 17:24-25)
บางครั้ง มีบางคนถือว่าพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในกลุ่มผู้ปฏิวัติการเมืองหรือผู้ก่อความไม่สงบในสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้ว พร ะองค์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราสามารถบอกได้ว่าพระองค์ทรงเป็น "คนครบครัน" คนหนึ่ง
พระองค์ทรงถือตามกฎเกณฑ์ทุกอย่าง แม้กระทั่งเรื่องการที่ต้องไปรายงานให้พระสงฆ์ทราบว่าได้หายจากโรคเรื้อนแล้ว "จงไปแสดงตนแก่บรรดาสมณะเถิด" (ลก 17:14) นอกนั้น พระองค์ไม่ทรงรับทำหน้าที่แทนบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งมอบหมายให้ดูแลความเ ป็นธรรมอย่างเป็นทางการ "ประชาชนคนหนึ่งทูลพระเยซูเจ้าว่า พระอาจารย์โปรดบอกพี่ชายข้าพเจ้าให้แบ่งมรดกให้ข้าพเจ้าเถิด พระองค์ตรัสกับเขาว่า มนุษย์เอ๋ย ใครตั้งเราเป็นผู้พิพากษาหรือเป็นผู้แบ่งมรดกของท่าน (ลก 12:13-14)
พระองค์ทรงเป็นคนครบครันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการทักท้วงในการที่พวกโรมันมาอยู่ในแผ่นดินยิ ว นอกนั้นพระองค์ทรงยอมรับการที่ชาวยิวต้องจ่ายส่วยตามข้อกำหนดแก่ผู้ยึดครองประเทศด้วย (เทียบ มก 12:13-17)
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
พระเยซูเจ้าไม่ได้มองว่าเงินเป็นสิ่งชั่วร้าย พระองค์ทรงเคารพบทบาทของเงินและได้ทรงจัดไว้สำหรับกิจกรรมที่ทรงกระทำ กลุ่มสาวกมีคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายของกลุ่ม (เทียบ ยน 12:6; 13:29) นอกนั้นยังมีหลายคนที่ช่วยเหลือในด้านความเป็นอยู่ของกลุ่มด้วย "อัครสาวกสิบสองคนอยู่กับพระองค์ รวมทั้งสตรีบางคนที่พระองค์ทรงรักษาให้พันจากปีศาจร้าย
และหายจากโรคภัยเช่น มารีย์ ที่เรียกว่าชาวมักดาลา ซึ่งปีศาจเจ็ดตนได้ออกไปจากนาง โยอันนา ภรรยาของคูซา ข้าราชบริพ ารของกษัตริย์เฮโรด นางสุสันนา และคนอื่นอีกหลายคน หญิงเหล่านี้สละทรัพย์ของตนมาช่วยเหลือพระองค์และบรรดาอัครสาวก" (ลก 8:1-3)
การตอบแทนในสวรรค์
พระเยซูเจ้าทรงป็นชาวยิวที่เชื่อในชีวิตจิตและความสัมพันธ์กับพระผู้สร้าง ผู้ทรงตอบแทนทุกคนด้วยความสัมพันธ์กับพระผู้สร้าง ผู้จะทรงตอบแทนทุกคนด้วยความยุติธรรม
พระองค์ไม่มองข้ามบำเหน็จที่ได้จากกิจการดี "บำเหน็จรางวัลของท่านนั้นยิ่งใหญ่นักในสวรรค์" (ลก6:23;มธ 5;12) พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยกับความคิดเห็นของนักคิดบางคนที่ถือว่า เมื่อทำดีแล้วไม่ควรจะคิดถึงผลตอบแทนเพื่อให้ความดีนั้นดีแท้ พระองค์ทรงยืนยันว่า "พระบิดาของท่านผุ้ทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งจะประทานบำเหน็จให้ท่าน" (มธ 6:4,6,17)
เยซูคริสต์
ลักษณะภายนอก
"คำสอนใหม่เต็มด้วยอำนาจ"
พระเยซูเจ้าทรงเข้าอยู่ในสังคมและชีวิตของชาวปาเลสไตน์ ได้อย่างครบครัน พระองค์ทรงเป็นชาวยิวที่ทรงรู้ดีในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประชากรของพระองค์ พระองค์ทรงเป็น "อาจารย์" ที่ตรัส ที่ถกถียงที่รู้ และที่อ้างพระคัมภีร์เหมือนอาจารย์แห่งอิสราเอลทั้งหลาย (เทียบ ยน 3:10)
ทว่า การประทับอยู่ ท่าที และคำสอนของพระองค์นั้นนำมาซึ่งความใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ทหารยามของพระวิหารที่ได้รับคำสั่งให้มาจับกุมพระองค์ต่างพูดด้วยความพิศวงว่า "ไม่มีคนใดที่พูดจาเหมือนกับชายคนนี้" (ยน 7:46)
นับตั้งแต่เมื่อทรงเทศน์สอน ประชาชนต่างก็รู้แก่ใจว่าพวกเขากำลังรับฟังสิ่งที่ไม่คาดคิด ไม่เคยได้ยินมาก่อนและรู้สึกปร ะทับใจมาก บางคนถึงขนาดรู้สึกเกรงกลัว อย่างเช่นที่เมืองคาเปอรนาอุม "ทุกคนต่างประหลาดใจ จึงถามกันว่า นี่มันเรื่องอะไร เป็นคำสอนแบบใหม่ที่มีอำนาจเขาสั่งแม้กระทั่งปีศาจและมันก็เชื่อฟัง" (มก 1:27)
ฤทธิ์อำนาจของพระองค์ในการรักษาโรคก่อให้เกิดความทึ่งแกมพิศวงในหมู่ประชาชน แต่สิ่งที่เราอยากให้ความสนใจคือความประทับใจและพลังที่ประชาชนเห็นในประกาศกหนุ่มจากนาซาเร็ธซึ่งไม่ซ้ำแบบใคร แตกต่างจากที่พวกเขาได้พบเห็นในบ รรดาคัมภีร์ราจารย์โดยสิ้นเชิง
บรรดาคัมภีร์ราจารย์ได้แต่เพียงวิเคราะห์พระคัมภีร์และพยายามตีความเพื่อสอนประชาชน แต่พระเยซูเจ้าทรงสัมผัสและเป็นหนึ่งกับความจริงที่ทรงประกาศสอน ดังที่พระองค์ทรงยืนยันในศาลาธรรมเมืองนาซาเร็ธ "ในวันนี้ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว" (ลก 4:21)
สวนกระแส
พระเยซูเจ้าทรงทำให้มรดกแห่งความจริงที่อิสราเอลได้รับส่งทอดมาและคอยดูแลรักษาไว้นั้น มีคุณค่าอีกแบบพระองค์ทรงแพร่หลายสารที่ไม่เคยได้ยินกันมาก่อน ซึ่งบางอย่างไปขัดกับความเชื่อถือที่ส่งทอดกันมาและก่อให้เกิดวิกฤติในสิ่งที่ไม่มีใครกล้าสงสัยมาก่อน
แม้จะทรงมีความสัตย์ซื่อและเชื่อถือในคำสอนของศาลาธรรมที่ได้รับการเผยแสดงผ่านทางอับราฮัม โมเสส ดาวิด ประกา ศก ฯลฯ แต่กระนั้นก็ดี ในหลายอย่างพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วย หรือจะพูดอีกนัยหนึ่ง ทรงสวนกระแส ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและศาสนาไม่น้อย
พระองค์ไม่ทรงถือเรื่องอาหารสะอาดและอาหารไม่สะอาดตามการกำหนดของกฎ พระองค์ทรงถือว่าในแผนการของพระผู้สร้าง สัตว์ทุกชนิดสามารถใช้เป็นอาหารได้
ในพระวรสาร เราจะเห็นปฏิกิริยาของผู้มีหน้าที่ถือกฎหมายต่อท่าทีของพระเยซูเจ้า "พระเยซูเจ้าทรงเรียกประชาชนเข้าม า ตรัสว่า จงฟังและเข้าใจเถิด สิ่งที่เข้าไปทางปากไม่ทำให้มนุษย์มีมลทิน แต่สิ่งที่ออกมาจากปากต่างหากทำให้มนุษย์มีมลทิน บรรดาศิษย์เข้ามาทูลพระองค์ ว่า พระองค์ทรงทาบหรือไม่ว่าพวกฟารีสีไม่พอใจเมื่อได้ยินสิ่งที่พระองค์ตรัส" (มธ 15:10-12)
แม้แต่มีคนไม่พอใจในเรื่องนี้ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงโอนอ่อนตามหรือรอมชอมด้วย เมื่ออยู่ในบ้านตามลำพังกับศิษย์แล้ว พ ระองค์ก็ทรงอธิบายว่า "สิ่งต่าง ๆจากภายนอกที่เข้าไปในมนุษย์นั้นทำให้เขาเป็นมลทินไม่ได้ เพราะมันไม่ได้เข้าไปในใจ แต่ลงไปในท้อง แล้วออกไปจากร่างกายดังนี้ ทรงประกาศว่า อาหารทุกชนิดไม่เป็นมลทิน พระองค์ยังตรัสอีกว่า
สิ่งที่ออกจากภายในมนุษย์นั้นแหละทำให้เขามีมลทิน จากภายในคือจากใจมนุษย์นั้นเป็นที่มาของความคิดชั่วร้าย การปร ะพฤติผิดทางเพศ การลักขโมย การฆ่าคน การมีชู้ ความโลภ การทำร้าย การฉ้อโกง การสำส่อน ความอิจฉา การใส่ร้าย ความหยิ่งยโส ความโง่เขลา สิ่งชั่วร้ายทั้งหมดนี้ออกมาจากภายใน และทำให้มนุษย์มีมลทิน" (มก 7:18-23)
ความยากจนเป็นความโชคดี
พระเยซูเจ้าทรงสวนกระแสเมื่อทรงประกาศว่า ความร่ำรวยไม่ใช่โชค แต่เป็นความเสี่ยง คนที่มีจิตใจยากจนถือว่าเป็นค นมีบุญ (เทียบ มธ 5:3; ลก 6:20-25) คำสอนของพระองค์สร้างความประหลาดใจให้แก่สาวกมาก "พระเยซูเจ้าตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า คนมั่งมีจะเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้ยากเราบอกท่านอีกว่า อูฐจะลอดรูเข็มยังง่ายกว่าคนมั่งมีเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์
เมื่อบรรดาศิษย์ได้ยินเช่นนั้นต่างรู้สึกประหลาดใจมาก จึงทูลถามว่า แล้วดังนี้ใครเล่าจะรอดพันได้ พระเยซูเจ้าทอดพระเ นตรบรรดาศิษย์ แล้วตรัสว่า สำหรับมนุษย์เป็นไปไม่ได้ แต่สำหรับพระเจ้า ทุกอย่างเป็นไปได้"(มธ 19:23-26)
ประณามการหย่าร้าง
มีการยอมรับการหย่าร้างในสังคมกรีก โรมัน และในสังคมโบราณหลายแห่ง แม้ในสังคมอิสราเอลก็มีการปฏิบัติเหมือนกัน ส่วนเหตุผลเพื่อการหย่าร้างนั้น มีความคิดเห็นหลากหลายในกลุ่มอาจารย์สอนศาสนา
แม้จะมีการอนุญาตโดยกฎของโมเสส แต่พระเยซูเจ้าทรงประกาศอย่างชัดเจนว่า "ผู้ใดหย่าร้างภรรยาและแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง ก็ทำผิดประเวณีต่อภรรยาคนเดิม และถ้าหญิงคนหนึ่งหย่ากับสามี ไปแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง ก็ทำผิดประเวณีเช่นเดียวกัน" (มก 10:11-12) และเพื่อยืนยันชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถฝ่าฝืนกฎข้อนี้ได้ แม้เพื่อความดีของฝ่ายที่ถูกทอดทิ้งไปและไม่ต้องการจะหย่า พระองค์ทรงเสริมว่า "ผู้ใดที่แต่งกับหญิงที่หย่าร้าง ก็ล่วงประเวณีด้วย" (มธ 5:32)
ในเรื่องนี้ พระองค์ทรงแสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระองค์สวนกระแส พวกศิษย์ถึงกับถามพระองค์เชิงประชดประชันว่า "ถ้าสภาพของสามีกับภรรยาเป็นเช่นนี้ ไม่แต่งงานเลยจะดีกว่า" (มธ 19:10)
ข้อเสนอให้ถือพรหมจารรย์เพื่อพระอาณาจักรสวรรค์
ถึงแม้สาวกจะมีท่าทีประชดประชันเกี่ยวกับการแต่งงาน พระเยซูเจ้าก็ทรงเสนอความเป็นไปได้ของการถือความบริสุทธิ์ค รบครัน ซึ่งตรงข้ามกับความคิดเห็นของชาวยิวและชนชาติอื่น ๆ สมัยนั้น "พระองค์ตรัสตอบสาวกว่าไม่ทุกคนเข้าใจคำสอนนี้ คนที่เข้าใจคือคนที่พระเจ้าประทานให้ เพราะว่าบางคนเป็นขันทีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บางคนถูกมนุษย์ทำให้เป็นขันที
และบางคนทำตนเป็นขันทีเพราะเห็นแก่อาณาจักรสวรรค์ ผู้ที่เข้าใจได้ ก็จงเข้าใจเถิด" (มธ 19:10-12) ไม่มีใครในชน ชาติอิสราเอลเคยได้ยินความเห็นที่ขัดแย้งเช่นนี้มาก่อน เป็นความเห็นที่ท้าทายและก่อให้เกิดปฏิกิริยากันทั่วหน้า
ที่มาของความไม่เหมือนใคร
พระเยซูเจ้าได้รับความสว่างและพลังมาจากไหนจึงทำให้พระองค์ทรงมั่นใจและกล้าหาญในพระวาจาและการกระทำของพระองค์อย่างไม่เหมือนใครเช่นนี้มีอะไรเป็นแหล่งที่บันดาลความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมไม่ธรรมดาของพระอาจารย์ผู้นี้ อะไรเป็นที่มาของการแสดงออกและการกระทำของพระองค์ในการสั่งสอนความจริงด้วยความสัตย์ซื่อต่อความเชื่อดั้งเดิมแต่ก็ทำให้เป็นความใหม่และสร้างความทึ่งให้แก่ทุกคนได้
การค้นหาแง่จิตวิทยาของพระเยซูเจ้าจะทำให้เราเข้าถึงแหล่งที่มาของความลับนี้ การค้นคว้าดังกล่าวนี้เรากระทำไปภายใต้การชี้นำของสิ่งที่มีเขียนในพระวรสาร สิ่งแรกที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนคือ พระวรสารบอกเราว่า สิ่งที่เป็นหัวใจและชีวิตภายในของพระเยซูเจ้าคือความสำนึกถึงพระบิดาเจ้า
ความเป็นบิดาของพระเจ้า
ความสำนึกว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดา เป็นท่าทีฝ่ายจิตของชาวยิว ประกาศกโฮเชยาได้บรรยายถึงความรักและความเอ าใจใส่เยี่ยงบิดาของพระเจ้าต่อชนชาติอิสราเอลด้วยภาพลักษณ์ที่น่าประทับใจมาก
"เมื่ออิสราเอลยังหนุ่มอยู่ เราก็ได้รักเขา เราได้เรียกบุตรของเราจากอียิปต์ ที่เอฟราอิม เราสอนเขาให้เดินจับมือเขาไว้ เราผูกพันกับเขาด้วยสายสัมพันธ์แห่งความใจดีด้วยสายโยงแห่งความรัก สำหรับพวกเขา เราเป็นเหมือนคนที่อุ้มเด็กน้อยไว้แนบแก้ม เราก้มลงหาเขาเพื่อให้การเลี้ยงดู
เทียบ (ฮชย 11:1-4)
ความเป็นบิดาของพระเจ้าอยู่ในความสัมพันธ์กับประชากรที่พระองค์ทรงเลือกสรร "เราคือบิดาสำหรับชนชาติอิสราเอล" ( ยรม 31:9) บ่อยครั้งที่เราพบในบันทึกของประกาศกว่าพระเจ้าทรงรำพึงรำพัน "ถ้าเราเป็นบิดาเกียรติที่เราพึงได้รับอยู่ที่ไหน" (มคา 1:6) "บุตรพระเจ้า" เป็นฐานันดรศักดิ์ซึ่งได้มาจากความรักของพระเจ้า "พระองค์ทรงเรียกขนานว่า พระองค์ทรงเป็นบิดา พระเจ้าของข้าพเจ้าและศิลาแห่งความรอดของข้าพเจ้า" (สดด 89:27)
พระเจ้าแห่งอิสราเอลยังได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของเด็กกำพร้าและผู้ปกป้องหญิงม่าย" (สดด 88:6) และ "ดังบิดาที่มีความเม ตตาต่อบุตร พระเจ้าทรงเมตตาทุกคนที่ยำเกรงพระองค์" (สดด 103:13) เช่นนี้ผู้ชอบธรรมทุกคนสามารถอวดอ้างได้ว่า "มีพระเจ้าเป็นพระบิดา" (ปชญ 2:6)
ความสำนึกถึงพระบิดาในดวงวิญญาณของพระคริสตเจ้า
ไม่มีใครในอิสราเอลที่มีประสบการณ์แห่งความเป็นบิดาของพระเจ้าได้แจ่มชัด น่าประทับใจ และสนิทแน่นเหมือนกับพร ะเยซูเจ้า ความทรงจำที่เร่าร้อนและเต็มด้วยความรักต่อพระบิดาแทรกซึมเข้าไปในคำพูด การกระทำและแต่ละช่วงเวลาแห่งชีวิตของพระองค์ พระวรสารแต่ละหน้าบ่งบอกความจริงนี้ได้ดี
"พ่อแม่ไม่รู้หรือว่าลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก ? (ลก 2:49) นี่คือคำพูดแรกของพระเยซูเจ้าที่มีการบันทึกไว้ และคำพูดสุดท้ายคือ "พระบิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้ามอบจิตของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์" (ลก 23:46) เราอาจพูดได้ว่า ระห ว่างสองคำพูดนี้ คำพูดทุกคำของพระองค์มีบ่งบอกถึงตัวพระบิดาและแผนการแห่งความรอดของพระองค์
เพื่อจะได้อยู่กับพระบิดาเจ้าอย่างเต็มที่ พระเยซูเจ้าทรงเลือกช่วงเวลาแห่งความเงียบและการอยู่ตามลำพังในแต่ละวันเพื่อการนี้ พระองค์ทรงภาวนาเมื่อรับพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน (เทียบ ลก 3:21) ทรงภาวนาก่อนที่รักษาคนเจ็บคนป่วยที่ถูกนำมาให้ พระองค์รักษา (เทียบ มก 7:34;9:29; ยน 11:41; มธ 14:19) ทรงภาวนาตลอดทั้งคืนก่อนจะทรงเลือกสาวก (เทียบ ลก 6:12-15) ทรงภาวนายืดยาวเมื่อจบการรับประทานอาหารค่ำครั้งสุดท้าย (เทียบ ยน 17:1-26) ทรงภาวนาเพื่อเตรียมตัวเผชิญกับความทรมานอันโหดร้าย (เทียบ มธ 26:36-42; มก 14:32-39; ลก 22:39-46)
คำภาวนาของพระเยซูเจ้า
พระเยซูเจ้าตรัสอะไรกับพระบิดาเจ้าบ้าง ความรู้สึกหลักๆ ที่ทำให้การสวดภาวนาของพระองค์เป็นมาตรฐานของการภาว นาของเราคือ การนมัสการและการสรรเสริญ (เทียบ มธ 11:25) การโมทนาคุณ (เทียบ ยน 11:41) การวอนขอเพื่อพระสิริมงคลของพระเจ้า (เทียบ ยน 12:28:"ข้าแต่พระบิดา ขอให้พระนามของพระองค์จงเป็นที่สักการะ") การวอนขอสำหรับเพื่อน (ยน17:11: "โปรดเฝ้ารักษาบรรดาผู้ที่ทรงมอบให้ข้าพเจ้าไว้ในพระนามของพระองค์")
ภาวนาเพื่อศัตรู (เทียบ ลก23:34 : "พระบิดาเจ้าข้าโปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร") มีสิ่งเ ดียวที่พระเยซูเจ้าไม่ต้องมีในการภาวนาคือการเป็นทุกข์สำหรับคามผิดที่ได้ทำ และความหวั่นเกรงและหวาดกลัวที่เรารู้สึกเมืออยู่ต่อหน้า "พระผู้ศักดิ์สิทธิ์"
ความสันโดษ
เราเข้าใจได้ว่า ทำไมพระเยซูเจ้าจึงทรงมีความสงบต่อหน้าความคิดเห็นรุนแรงและพฤติกรรมก้าวร้าว ความเป็นหนึ่งเดี ยวกับพระบิดาฉันลูกให้ความสว่างแก่พระองค์มากกว่าเหตุผลประสามนุษย์ และให้พลังแก่พระองค์ ในการรักษาที่ทีแจ่มใส ทั้งในเวลาที่ทรงอยู่ท่ามกลางประชาชน หรือเมื่อทรงอยู่ตามลำพัง
พระวรสารพูดถึงการที่พระเยซูเจ้าทรงปลีกคัวไปในที่เปลี่ยว โดยเฉพาะ เมื่อไม่ทรงต้องการให้ใครสร้างเงื่อนไขให้แก่พระองค์ "พระองค์เสด็จไปบนภูเขาตามลำพัง" (ยน6:15) นอกนั้น ความสันโดษของพระองค์ไม่ใช่ความเปล่าเปลี่ยว "เราไม่อยู่คนเ ดียว เพราะพระบิดาทรงอยู่กับเรา" (ยน16:32;8:16,29 )
"ใช่ พระบิดาเจ้า"
สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงสนใจคือการเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดาเจ้า และการคล้อยตามพระประสงค์ของพระบิดาพระองค์ทรงยืนยันแข็งขันว่า "อาหารของเราคือการทำตามพระประสงค์ของพระผู้ทรงส่งเรา และประกอบภารกิจของพระองค์ให้สำเร็จลุล่วงไป" (ยน 4:34 )
การทำตามพระประสงค์ของพระบิดาไม่ใช่สิ่งที่ง่ายสำหรับพระเยซูเจ้าเสมอไป ดังที่เราเห็นได้ในการเข้าตรีทูตของพระองค์ในสวนเกทเสมนี "พระบิดาเจ้าข้า ถ้าเป็นไปได้ ขอให้ถ้วยนี้พันข้าพเจ้าไปเถิด ถ้าเป็นไปไม่ได้ขออย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด" (มธ 26:39)
ผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูได้กล่าวถึงแง่นี้ไว้ได้อย่างดี ซึ่งทำให้เราแปลกใจแต่ก็พอเข้าใจได้ "พระองค์ทรงอธิษฐาน ทูล ขอ คร่ำครวญ และร่ำไห้ต่อพระเจ้าผู้ทรงช่วยพระองค์ให้พันความตายได้ พระเจ้าทรงสดับฟังเพราะความเคารพยำเกรงของพระเยซูเจ้า ถึงแม่ว่าพระเยซูเจ้า ทรงเป็นพระบุตร ก็ยังทรงเรียนรู้ที่จะนอบน้อมเชื่อฟังโดยการรับทรมาน" (ฮบ 5:7-8)
"ใช่ พระบิดาเจ้า" (มธ 11:26) เป็นคำสั้น ๆ ที่พระเยซูเจ้าทรงกล่าว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงชีวิตภายในของพระองค์และเป็น ที่มาของทุกสิ่งที่พระองค์ตรัสและกระทำ นักบุญเปาโลได้มีความคิดเดียวกันเมื่อเขียนว่า "พระเยซูคริสตเจ้า...ไม่ตรัส ใช่ และ ไม่ ทว่านพระองค์มีแต่ ใช่ อย่างเดียว (2 คร 1:19)
พระผู้สร้างผู้ทรงรัก
การถวายพระนามพระเจ้า เป็น "พระบิดา" เป็นสิงที่ชาวอิสราเอลทำด้วยความชัดเจนและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงลักษณะทุกอย่างที่คำนี้บ่งบอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความรักที่พระผู้สร้างทรงมีต่อมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ พระบิดาทรงรักพวกท่าน" (ยน 16:27) เป็นความจริงที่ซื่อ ๆ แต่วิเศษสุดซึ่งพระเยซูเจ้าได้ทรงมอบให้สาวกเป็นมรดก
พระเจ้าของพระเยซูคือพระเจ้าที่ทรงรักและเอาใจใส่ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น แม้กระทั่งนกกระจอกที่บินในท้องฟ้าและดอกไม้ในทุ่งหญ้า (เทียบ มธ 6:26-30) สาอะไรกับลูกของอาดับที่พระองค์ทรงรักและให้การดูแลเอาใจใส่อย่างที่สุด โดยไม่คำนึงถึงพฤติกรรมของพวกเขา "พระองค์โปรดให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่ว โปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม" (มธ 5:45)
นักบุญยอห์นเขียนในจดหมายฉบับที่หนึ่ง ประโยคสั้น ๆ ว่า "พระเจ้าคือความรัก" (1ยน 4:8) แต่ก็สามารถสรุปความคิดของพระอาจารย์เดี่ยวกับพระเจ้าได้ดียิ่ง
การตอบรับความรัก
ลูกน่าจะเหมือนพ่อ สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับพระบิดาต้องกลับกลายเป็นชีวิตของเรา "จงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ดังที่พระบิดาเจ้า สวรรค์ของท่านทรงความดีอย่างสมบูรณ์เถิด" (มธ 5:48) แน่นอนว่าเราคงจะบรรลุเป้าหมายนี้ไม่ได้ แต่ก็เป็นการเชื้อเชิญให้เราทำตัวเราให้เหมือนพระบิดาในความรักต่อผู้อื่น หรือจะพูดอีกนัยหนึ่ง การกระทำของเราต้องได้รับแรงบันดาลใจจากความรัก นั่นเอง
พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า "จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด" (ลก 6:36) แล้วทรงเสริ มอีกว่า "นี่คือบทบัญญัติของเรา ให้ท่านทั้งหลายรักกันและกัน เหมือนดังที่เรารักท่าน" (ยน 15:12)
ความรักต้องตอบด้วยความรัก ความรักที่พระบิดาเจ้าทรงมีต่อลูก ๆ เรียกร้องให้ลูก ๆ รักกันและกันเพื่อเห็นแก่พระองค์ นี่คือแก่นของศาสนา จึงไม่ต้องแปลกใจที่พระเยซูเจ้าทรงสรุปพระบัญญัติของอิสราเอลลงมาเหลือแค่พระบัญญัติแห่งความรัก " มีคนหนึ่งเป็นบัณฑิตทางกฎหมายได้ทูลถามเพื่อจะจับผิดพระองค์ว่า พระอาจารย์ บทบัญญัติข้อใดเป็นเอกในธรรมบัญญัติ พระเยซูตรัสตอบว่า
ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาของท่าน นี่คือบทบัญญัติเอกและเป็นบทบัญญัติแรก บทบัญญัติประการที่สองก็เช่นเดียวกัน คือท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ธรรมบัญญัติและคำสอนขอ งบรรดาประกาศกก็ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติสองประการนี้" (มธ 22:35-40)
ศาสนาประจำชาติ
พระเยซูเจ้าทรงสวนกระแสทัศนคติของเพื่อนร่วมชาติของพระองค์ที่เอาแต่เน้นความรักชาติเป็นใหญ่ ครั้งหนึ่ง ที่ศาลาธรรมเมืองนาซาเร็ธ พระองค์ทรงยกประเด็นให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้เลอเลิศไปกว่าชาติอื่น ในแผนการของพระเจ้าโดยยกตัวอย่า งเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ให้เห็น "ในสมัยประกาศกเอลียาห์ เมื่อฝนไม่ตกเป็นเวลาสามปีหกเดือนและเกิดความอดอยากครั้งใหญ่ทั่วแผ่นดิน มีหญิงม่ายหลายคนอิสราเอล แต่พระเจ้ามิได้ทรงส่งประกาศกเอลียาห์ไปหาหญิงม่ายเหล่านี้ นอกจากหญิงที่เมืองศาเรฟัท
ในเขตเมืองไซดอน ในสมัยประกาศกเอลีชา มีคนโรคเรื้อนหลายคนในอิสราเอล แต่ไม่มีใครได้รับการรักษาให้หายจากโ รค นอกจากนาอามานชาวซีเรียเท่านั้น เมือคนที่อยู่ในศาลาธรรมได้ยินเช่นนี้ ทุกคนโกรธเคืองยิ่งนัก จึงลุกขึ้นขับไล่พระองค์ออกไปจากเมือง นำไปที่หน้าผาของเนินที่เมืองตั้งอยู่ ตั้งใจจะผลักพระองค์ลงไปแต่พระองค์ทรงดำเนินฝ่ากลุ่มคนเหล่านั้น แล้วเสด็จจากไป" (ลก 4:25-28)
สารของพระคริสตเจ้าในประวัติศาสตร์แห่งความเลื่อมใสในศาสนา
ไม่เคยมีใครที่ยืนยันถึงความเป็นสากลแห่งการเป็นบิดาของพระเจ้าได้เข้มข้นและหนักแน่นไปกว่าพระเยซูเจ้า พระองค์ ทรงเตือนผู้ที่ฟังพระองค์ให้สำนึกใน "พระบิดาของเรา" "พระบิดาของท่านที่ประทับอยู่ในสวรรค์" "พระบิดาเจ้าสวรรค์ของพวกท่าน" "พระบิดาของพวกท่านที่ทรงเห็นที่เร้นลับ" อันเป็นความจริงสูงส่งที่อยู่ในแก่นของสิ่งที่พระองค์สอน ก่อนพระองค์ ไม่มีใครเคยพูดอย่างชัดเจนว่า
ความรักเป็นดังจิตวิญญาณ เป็นความหมาย เป็นสุดยอดแห่งความสัมพันธ์กับพระเจ้า และเป็นท่าทีฝ่ายจิตที่สำคัญซึ่งจะต้องควบคุมการดำเนินชีวิตร่วมกันของมนุษย์
ก่อนพระองค์ ไม่มีใครตีความด้านมนุษย์วิทยา โดยให้เน้นความสำคัญอันดับแรกแก่ "ดวงใจ" กล่าวคือ ชีวิตภายในที่ต้องมาก่อนท่าทีภายนอก ทั้งหมดนี้บอกให้เรารู้ว่าศาสนาคริสต์อยู่ในแก่นของประวัติศาสตร์แห่งความเลื่อมใสศรัทธา เป็นสิ่งน่าทึ่งและเป็นการปฏิวัติแห่งทัศนคติอย่างแท้จริง
กระนั้นก็ดี เรายังเข้าไม่ถึงเหตุผลแห่งการไม่เหมือนใครของประกาศกแห่งนาซาเร็ธผู้นี้ ตลอดจนแก่นแห่งชีวิตภายในขอ งพระองค์ และที่มาแห่งเอกลักษณ์แท้ ๆ ของพระองค์ เราเพียงแค่อยู่ชายขอบจิตวิทยาที่ไม่ซ้ำแบบใครของพระองค์ เรายังไม่ได้รับกุญแจที่เปิดเข้าไปถึงบุคลิกภาพยิ่งใหญ่ของพระองค์ซึ่งตลอดสองพันปีที่ผ่านมามีอิทธิพลเหนือชีวิตจิตของมนุษยชาติ
พระบิดาของข้าพเจ้า
สิ่งที่ทำให้พระเยซูแห่งนาซาเร็ธทรงแตกต่างจากทุกคนคือความตระหนักใจในความสัมพันธ์กับพระเจ้าแห่งอิสราเอลในความสัมพันธ์กับพระเจ้าแห่งอิสราเอลในความหมายแห่งความเป็นจิรงและเฉพาะเจาะจงแค่พระองค์ผู้เดียว การที่พระองค์ถือว่า พระผู้สร้างสวรรค์และแผ่นดินเป็น "พระบิดา" ก็เพราะว่าพระองค์ทรงทรงทราบว่าพระองค์คือพระบุตรของพระเจ้า ความเป็นบุตรของพระองค์จึงเฉพาะเจาะจง ไม่มีความสับสน และแท้จริงอย่างที่ไม่มีใครสามารถเป็นได้
พระองค์ตรัสซ้ำบ่อย ๆว่า พระเจ้าทรงเป็น "พระบิดาของข้าพเจ้า" ความรู้สึกทุกอย่าง คำพูดทุกคำ กิจการทุกอย่างของพร ะองค์ ได้รับแรงบันดาลใจและควบคุมโดยความตระหนักใจนี้ ซึ่งก่อให้เกิดความทึ่งในทุกคนที่พบเห็นพระองค์ คนอื่น ๆ เป็น "พี่น้องของพระองค์" เพราะทุกคน "เป็นบุตรของพระเจ้า" บางครั้งพระองค์ก็ทรงเรียกคนอื่นๆ ว่า "น้องคนเล็กของเรา" (เทียบ มธ 25 : 40 ) พระองค์ทรงบอกมารีย์ ชาวมักดาลาว่า "จงไปหาพี่น้องของเรา" (เทียบ ยน 20:17) ทว่า ความเป็นบุตรของคนอื่น ๆ ไม่เหมือนกับที่พระองค์ทรงเป็น พระองค์ทรงเรียกขนานพระเจ้าบ่อยๆ ว่า "พระบิดาของข้าพเจ้า"
โดยเฉพาะเมื่อทรงสอนคนอื่นให้สวดภาวนา "เมื่อพวกท่านสวดภาวนาจงสวดดังนี้ ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย..."(มธ6:9) ในเช้าวันปัสกา เมื่อทรงกลับคืนพระชนมชีพ พระองค์ตรัสกับสาวกอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า "เรากำลังกลับไปหาพระบิดาของเราและพระบิดาของพวกท่าน"(ยน 20:7)
ความไม่เหมือนใคร
ในพระวรสาร มีการพูดถึงการที่พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่าพระเจ้าทรงเป็น "พระบิดาของข้าพเจ้า" และ "พระบิดาของพวก ท่าน" ที่สอดคล้องกันอย่างต่อเนื่องและชัดเจน แม้กระทั่งในแง่ประวัติศาสตร์ก็มีความคล้องจองกันในเรื่องนี้ ทุกคนไม่ว่าผู้ที่เชื่อหรือผุ้ที่ไม่เชื่อ ต่างก็ไม่สงสัยเลยว่า พระเยซูแห่งนาซาเร็ธทรงมีความเชื่อมั่นว่าพระองค์ทรงเป็นบุตรของพระเจ้าแห่งอิสราเอลต่างกับมนุษย์ทุกคน
ไม่มีมนุษย์คนใด ไม่มีอาจารย์คนใด ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหน ไม่มีศาสดาคนใดที่เคยมีความคิดแบบพระยซูเจ้า พระองค์ ทรงถือว่า การเป็นบุตรของพระเจ้าเป็นสิ่งที่พระองค์ผู้เดียวทรงเป็น
ความสัมพันธ์กับพระบิดา
ความสำนึกแห่งการเป็นบุตรของพระเจ้าทำให้พระเยซูเจ้ามีความยิ่งใหญ่และไม่ซ้ำแบบใคร ซึ่งพระองค์แต่เพียงผู้เดียวได้รับจากพระบิดาเจ้า เพราะเหตุนี้ คำเทศน์ของพระองค์จึงเต็มด้วยอำนาจและก่อให้เกิดความแปลกใจแก่ทุกคน พระองค์ทรงพู ดถึงพระเจ้าตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นคนอื่นที่พูดเช่นนี้คงไม่มีใครรับได้ แต่เมื่อพระองค์ตรัส คนฟังกลับไม่รู้สึกว่าเป็นการอวดอ้างหรือโออวดแต่อย่างใด
ไม่มีใครกล้าจะอ้างว่า "ทุกคนที่ยอมรับเราต่อหน้ามนุษย์ เราก็ยอมรับผู้นั้นเฉพาะพระพักตร์พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์" (มธ 10:32-33) แล้วนั้น "ผู้ที่รักบิดามารดามากกว่ารักเรา ก็ไม่คู่ควรกับเรา ผู้ที่รักบุตรชายหญิงมากกว่ารักเรา ก็ไม่ควรคู่กับเรา" (มธ 10:37)
เป็นคำพูดที่ยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ปราศจากความลังเลใด ๆ เป็นคำพูดที่สะท้อนให้เห็นจิตวิทยาของผู้ที่มีความมั่นใจสิ่งที่ตนเป็น ดังที่นักบุญยอห์นสะท้อนความคิดของพระอาจารย์โดยเขียนว่า "ทรงเป็นพระบุตรแต่พระองค์เดียวของพระบิดา" (ยน 1:14)
บทสรุป
เราได้ค้นหาความเป็นพระเยซูแห่งนาซาเร็ธโดยทางข้อมูลต่างๆ ที่เรามีอยู่ในมือและในรูปแบบการวิเคราะห์ด้านประวัติ ศาสตร์และจิตวิทยา ในบทสรุป เราอยากจะยกประเด็นของสิ่งที่เราค้นหาได้และขีดจำกัดแห่งการค้นคว้าของเรา ความเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้านั้น เราได้จากภาษา ที่ใช้กัน ซึ่งบางครั้งก็ไม่ชัดเจน เป็นรูปแบบซ้ำไปซ้ำมาและกำกวม กระนั้นก็ดี ก็ยังทำให้เราเข้าใจและทำให้เกิดมิตรภาพและความรักกับพระองค์ "ผู้ทรงความสง่างามมากกว่ามนุษย์คนใด" (สดด 45:3)
นอกนั้น จากการวิเคราะห์ที่เราได้มาโดยทางข้อมูลที่เรามี ทำให้ความรู้สึกที่ผิวเผินที่ผิด ๆ ถูก ๆ และที่ยกย่องพระเยซูแ ห่งนาซาเร็ธเป็นเชิงอุดมคติ ตลอดจนการตีความคำสอนของพระองค์แบบสบายๆ ต้องหมดสิ้นไป
การค้นคว้าเกี่ยวกับพระเยซูเจ้ายังคงต้องดำเนินต่อไป ไม่ใช่ด้วยความเพียรพยายามของเราอย่างเดียวแต่ต้องตั้งอยู่บนความสัตย์ซื่อด้านสติปัญญาด้วย ความรู้ที่ได้มาตามแง่มนุษย์ "ทางเนื้อหนังและเลือด" (มธ 16:7) หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ความรู้แง่มนุ ษย์ล้วน ๆ ทำให้เราเข้าไม่ถึงพระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้า เราต้องได้รับการดลใจจากเบื้องบนและเข้าถึงพระปรีชาญาณของพระเจ้า เพราะ "ไม่มีใครรู้จักพระบุตร เว้นแต่พระบิดา" (มธ 11:27)
แนวทางจากความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างเช่นความเชื่อของนักบุญเปโตร "พระองค์เป็นพระคริสต์ พระบุตรแห่งพระเจ้าผู้ทรงชีวิต" (มธ 16:6) ความเชื่อของนักบุญเปาโล "พระคริสตเจ้าทรงยอมสละพระชนมชีพเพราะบาปของเรา และทรงกลั บคืนพระชนมชีพเพราะบาปของเรา และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อให้เราเป็นคนชอบธรรม" (รม 4:25) ความเชื่อที่พระวรสารเล่มที่สี่ได้สรุปคำสอนทั้งหมด "พระองค์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระเจ้าของข้าพเจ้า" (ยน 20:28)
สิ่งที่เราได้ไตร่ตรองและรำพึงด้านเทววิทยา เราได้พิศเพ่งพระเยซูแห่งนาซาเร็ธ พระเมสสิยาห์ พระผู้กลับคืนพระชนมชี พ พระผู้ไถ่ผู้เดียวของมนุษย์ทุกคนองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล พระบุตรองค์เดียวของพระบิดา "พระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้"

ความไม่เหมือนใคร
คัมภีร์พระธรรมใหม่ ได้บันทึกว่า เยซูได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ในจำนวนนั้นคือ การรักษาคนเป็นโรคเรื้อน การรักษาคนตาบอด คนง่อย หูหนวก หญิงตกโลหิต ฯลฯ การชุบชีวิตคนตาย การทวีขนมปังและปลา การเดินบนน้ำ การทรงทราบล่วงหน้าถึงอนาคตและสิ่งต่างๆ และการกลับคืนพระชนม์ชีพหลังสิ้นพระชนม์ไปครบ 3วัน

ปีคริสตศักราช
อ.กีรติ บุญเจือ
วันคริสต์มาส คือวันที่ 25 ธันวาคม ส่วน คืนคริสต์มาส คือคืนวันที่ 24 ธันวาคม
ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้เลยว่าพระเยซูประสูติวันใด เดือนใดและปีใด แม่พระน่าจะจำได้ แต่สาวกมิได้สนใจถามและจดจำ จึงมิได้บันทึกไว้ในพระวรสาร
เราจึงรู้เพียงแต่ว่าทรงเริ่มเทศนาเมื่ออายุได้ 30 ปี และสิ้นพระชนม์เมื่ออายุ 33 ปี
ปีเกิดนั้น คำนวณเอาตามการอยู่ในตำแหน่งของออกัสติส เฮโรดและควีรีเนียส ซึ่งคลาดเคลื่อนไป 4 ปี ถ้านับเคร่งจริงๆ ปี ค.ศ.2001 นี้ ควรเป็นปี ค.ศ. 2005 แล้ว
เพื่อเลี่ยงความสับสน บางคนเสนอให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นศักราชสากล (ศ.ก.) เช่น ปีนี้เป็นปี ศ.ก.2001 (ภาษาอังกฤษว่า Common Era C.E.2001) มีคนเริ่มใช้แล้วในภาษาอังกฤษ
ส่วน 25 ธันวาคม นั้น เชื่อกันมาว่าเป็นวันฉลองสุริยเทพ ผู้ชนะเสมอ (Sol invictus) ซึ่งเป็นเทพสงครามช่วยให้ชาวโรมันรบชนะเสมอ
แต่นักประวัติศาสตร์พบหลักฐานเก่ากว่านั้นว่า ได้มีการฉลองวันแม่พระรับสาร 25 มีนาคมมาก่อนแล้ว ที่เอาวันที่ 25 มีนาคมก็เพราะเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระเจ้าสร้างดวงอาทิตย์ให้โคจรรอบโลก
พระเจ้าน่าจะทรงวางดวงอาทิตย์แรกเกิดไว้ที่เส้นศูนย์สูตร แล้วให้เริ่มเคลื่อนวงโคจรขึ้นมาทางเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ พระเจ้าเจ้า น่าจะทรงจัดการให้พระบุตรมารับร่างกายเป็นมนุษย์ในวันครบรอบปีสร้างโลก น่าจะเหมาะที่สุด
คริสตชนดั้งเดิมคิดกันอย่างนั้นเป็นเอกฉันท์ เราจึงฉลองวันแม่พระรับสารหรือวันปฏิสนธิ์นฤมลทินของพระเยซูวันที่ 25 มีนาคม มาจนทุกวันนี้
แม่พระทรงอุ้มท้อง 9 เดือนบริบูรณ์ จึงให้ประสูติกาลวันที่ 25 ธันวาคม ที่ตรงกับวันฉลองสุริยเทพถือเป็นเรื่องบังเอิญ เป็นวันที่ยุโรปหนาวที่สุดของทุกปี

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เพนทากอน
เพนตากอน (The Pentagon) เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่อาร์ลิงตัน มลรัฐเวอร์จิเนีย อาคารเพนตากอนรูปห้าเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ทางการทหารของสหรัฐอเมริกา
อาคารเพนตากอนเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1943 เป็นอาคารสำนักงานที่มีพนักงานมากที่สุดในโลก และเคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับตามปริมาณพื้นที่ใช้สอย) ปัจจุบันมีพนักงานทั้งทหารและพลเรือนทำงานมากกว่า 23,000 คน และพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารอีกกว่า 3,000 คน
รูปทรงของเพนตากอนเป็นรูปห้าเหลี่ยม ตัวอาคารมีห้าชั้น และแต่ละชั้นแบ่งเป็นวงย่อยๆ ห้าวงซ้อนกัน บริเวณใจกลางของเพนตากอนมีอาณาเขต 20,000 ตร.ม. นับเป็นอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลกที่ทหารไม่จำเป็นต้องทำความเคารพนายทหารชั้นสัญญาบัตร (ตามปกติในที่โล่ง เมื่อสวมหมวกจะต้องทำความเคารพเสมอ)

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550


?
มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้นซัลฟาเพอริน รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ เริ่มต้นเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย หรือ ภาษาอื่นด้านซ้ายมือ ให้นำกล่องนี้ออกเมื่อมีข้อความเพิ่มเติม


ซัลฟาเพอริน (sulfaperine)
จังหวัดปทุมธานี

รุ่นที่ 1
รุ่นที่ 2
รุ่นที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

มหาวิทยาลัยราชภัฎ
มหาวิทยาลัยราชภัฎ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฎ" จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทานตราประจำมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎมีอยู่ 40 แห่ง

มหาวิทยาลัยราชภัฎ สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เดิมมหาวิทยาลัยราชภัฏมีทั้งหมด 41 แห่ง แต่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยนครพนม ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงมีทั้งหมด 40 แห่ง ได้แก่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี