วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550



ลาสต์ออร์เดอร์:ไฟนอลแฟนตาซี VII (ラストオーダー ファイナルファンタジーVII ; LAST ORDER FINAL FANTASY VII) เป็นภาพยนตร์อะนิเมะ OVA ที่ถูกบรรจุไว้ใน ไฟนอลแฟนตาซี VII แอดเวนต์ชิลเดรน ชุด Ultimate Edition "Advent Pieces: Limited" ผลิตโดยสแควร์เอนิกซ์ และ แมดเฮาส์ มีความยาวทั้งสิ้น 25 นาที ออกวางจำหน่ายในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2548 เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องร�! �วในเกม ไฟนอลแฟนตาซี VII โดยเรื่องราวในภาคลาสต์ออร์เดอร์นี้ ยังเชื่อมต่อกับเนื้อเรื่องในเกม บีฟอร์ไครซิส:ไฟนอลแฟนตาซี VII ด้วย


กรกมล
ทีมงานสร้าง

ผู้กำกับ: โมริโอะ อาซากะ
เนื้อเรื่องดั้งเดิม: คาซึชิเงะ โนจิมะ
ผู้เขียนบท: คาซึฮิโกะ อินุไค
ออกแบบตัวละคร: ฮิซาชิ อาเบะ
กำกับศิลป์: ฮิเดโทชิ คาเนโกะ
ดนตรีประกอบ: ทาเคฮารุ อิชิโมโตะ
ควบคุมการสร้าง: เท็ตสึยะ โนมูระ
อำนวยการสร้าง: ชินจิ ฮาชิโมโตะ, โยชิโนริ คิตาเซะ, โยอิจิ วาดะ
ผลิตอนิเมชั่น: แมดเฮาส์

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Domain

DHCP · DNS · FTP · HTTP · IMAP4 · IRC · NNTP · XMPP · MIME · POP3 · SIP · SMTP · SNMP · SSH · TELNET · BGP · RPC · RTP · RTCP · TLS/SSL · SDP · SOAP · …
TCP · UDP · DCCP · SCTP · GTP · …
IP (IPv4 · IPv6) · IGMP · ICMP · RSVP · IPsec · …
802.11 · ATM · DTM · Ethernet · FDDI · Frame Relay · GPRS · EVDO · HSPA · PPP · ARP · RARP · L2TP · PPTP · …
Ethernet physical layer · ISDN · Modems · PLC · SONET/SDH · G.709 · …
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่ายังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
Domain Name System (DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่
ประโยชน์ที่สำคัญของ DNS คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org)


วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550



กิ่งฉัตร เป็นนามปากกา ปาริฉัตร ศาลิคุปต์ (2511 - ) เป็นบุตรของ พล.ร.อ.วิเชียร และ องุ่น ศาลิคุปต จบมัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา และจบปริญญาตรี วารสารศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาหนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กิ่งฉัตรเริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่เรียนมัธยมต้น รักการอ่านและอ่าน หนังสือได้แทบทุกประเภท จึงเกิด ความรู้สึกอยากจะเขียนหนังสือให้ ผู้อื่นอ่าน และ มีอารมณ์ ร่วมทั้งหัวเราะและร้องไห้ไปกับตัวละคร อย่างที่ตัวเอง เคยรู้สึกเคยสัมผัสบ้าง จึงเริ่มต้นเขียนเรื่องสั้นเวียน ให้เพื่อนฝูงในชั้นอ่านก่อน พอขึ้นปี 2 ในมหาวิทยาลัย ก็เริ่มมีบทความลงในหนังสือพิมพ! ์บางฉบับ และนิตยสารอีกหลายเล่ม เช่น สตรีสาร แพรวสุดสัปดาห์ ขวัญเรือน กระทั่งเรียนมหาวิทยาลัยปีสุดท้ายจึงได้ เริ่มต้นเขียน นวนิยายเรื่องยาวเรื่องแรก คือ พรพรหมอลเวง โดยอาศัยนิสัยใจคอเพื่อนสนิทมาเป็นตัวเอก ของเรื่อง กิ่งฉัตรเริ่ม ต้นทำงานครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ปริทรรศน์ ทำอยู่ประมาณ 2 ปีก่อนลาออกมาเขียน หนังสือเป็นอาชีพ
กิ่งฉัตรมีสิ่งที่ยึดในการทำงาน คือ เขียนหนังสือตามใจคนเขียน เป็นหลัก เพราะ ถือว่าคนเขียนเป็นคนอ่านคนแรก ถ้าอ่านแล้วสนุก คนอ่านส่วนหนึ่งที่มีชอบเรื่องในแนวเดียว กันก็คงสนุกด้วย เขียน ในสิ่งที่ชอบที่ถนัด และเขียนด้วยใจรักการทำงาน
กิ่งฉัตรเคยมีนามปากกาในการเขียนเรื่องสั้นว่า "ทองหลางลาย" แต่ พอเขียนเรื่องยาวก็ได้ใช้ "กิ่งฉัตร" มาตลอด นามปากกานี้มาจาก ชื่อจริงตัวสุดท้าย คือ "ปาริฉัตร" ส่วนกิ่งนี่เธอบอกว่าเหมือนกับกิ่ง ก้านสาขาที่แยกออกมาจากต้น คือ เวลาเขียนหนังสือจะรู้สึกว่าไม่ใช่ ตัวเอง


กิ่งฉัตร
ผลงาน (เรียงตามลำดับปีที่พิมพ์รวมเล่ม)

พ.ศ. 2535 พรพรหมอลเวง
พ.ศ. 2536 มายาตวัน
พ.ศ. 2537 ละครเล่ห์เสน่หา
พ.ศ. 2537 เสราดารัล
พ.ศ. 2538 ด้วยแรงอธิษฐาน
พ.ศ. 2539 บ้านอัญชัน
พ.ศ. 2539 ตามรักคืนใจ
พ.ศ. 2539 ดวงใจพิสุทธิ์
พ.ศ. 2540 แสงดาวฝั่งทะเล
พ.ศ. 2540 เพรงเงา
พ.ศ. 2541 บ่วงหงส์
พ.ศ. 2541 ดั่งไฟใต้น้ำ
พ.ศ. 2541 มนต์จันทรา
พ.ศ. 2542 มีเพียงรัก
พ.ศ. 2543 รอยพรหม
พ.ศ. 2543 ลางลิขิต
พ.ศ. 2544 ลำเนาลม
พ.ศ. 2544 ลำนำจันทร์
พ.ศ. 2545 สืบลับรหัสรัก
พ.ศ. 2545 พรายปรารถนา
พ.ศ. 2546 รหัสหัวใจ
พ.ศ. 2546 ในเรือนใจ
พ.ศ. 2547 ฟ้ากระจ่างดาว
พ.ศ. 2547 สูตรเสน่หา
พ.ศ. 2547 นางบาป
พ.ศ. 2548 แกะรอยรัก
พ.ศ. 2548 หิมะกลางทะเลทราย
พ.ศ. 2549 ค่าของหัวใจ
พ.ศ. 2550 สะพานอธิษฐาน

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550

�

อร อรดี เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิง ที่มีผลงานเพลงออกมาตั้งแต่อายุยังน้อย เธอโด่งดังมาจากเพลง " สาวเมืองนนท์ " และยังคงผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง



อร
สารบัญ
อร อรดี เกิดเมื่อปี 2533 ที่จ.สระบุรี ชื่อ อร อรดี เป็นการตั้งให้โดย พนม นพพร อดีตนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง และผู้บริหารค่ายเพลง นพพร ซิลเวอร์โกลด์ อร อรดี จบการศึกษาจากเทคโนโลยีละโว้ และกำลังศึกษาต่ออยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี ชั้นปีที่ 1 (พ.ศ. 2550) คณะนิเทศศาสตร์



วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550



อาจารย์สุรัตน์ วัณโณ เป็นนักสะสมพันธุ์ไม้แปลกและหายากคนสำคัญของเมืองไทย เคยเป็นอาจารย์สอนที่ภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจไม้ประดับเป็นอย่างมาก และได้สะสม ขยายพันธุ์ แลกเปลี่ยน และตกแต่งสวนมาเป็นเวลากว่า 30 ปี


�สุรัตน์
ผลงาน

หนังสือ พรรณไม้สะสมของ สุรัตน์ วัณโณ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน เป็นหนังสือที่รวบรวมพรรณไม้้สะสมของ สุรัตน์ วัณโณ มากกว่า 400 ชนิด

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550

�เมลินดา

เมลินดา ไฮเดอร์ (Melinda Hyder)คือ ผู้เข้าแข่งขันรายการ เซอร์ไวเวอร์ ปานามาเกาะอัปยศ ถูกโหวตออกเป็นคนที่ 2 หลังจากที่เกิดการยุบเผ่าใหม่ เธอและซิรี ฟิลด์ส ตกเป็นชนกลุ่มน้อย และถูกโหวตออกในที่สุด เมลินดาเป็นนักร้อง อายุ 32 ปี




ประวัติ
เมลินดาเกิดและโตใน อลิซาเบธทอน รัฐเทนเนสซี
เธอมีน้องสาว 1 คนชื่อ เรจิน่า และเธอภูมิใจที่จะบอกว่าพ่อแม่ของเธอ, ริชาร์ด และคารอลเป็นคู่รักมาตั้งแต่ตอนเรียนมหาวิทยาลัยและแต่งงานกันมาร่วม 44 ปีแล้ว
เมลินดาเริ่มร้องเพลงในโบสถ์ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ
เธอฝึกการเต้นบัลเลต์ แท็ป แจ็ซ และยิมนาสติกเป็นเวลาถึง 12 ปี
เธอได้เข้าเรียนและฝึกสอนในโรงเรียนสอนเต้น วัตต์ แดนซ์ สตูดิโอ ในอลิซาเบธทอน

เธอจบการศึกษาได้รับเกียรติยมทางด้าน ดนตรีและคณิตศาสตร์จากโรงเรียนมัธยมอลิซเบธทอน
หลังจากนั้นเธอเข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยรัฐ อีสต์ เทนเนสซี ในจอห์นสัน ซิตี้ โดยได้รับทุนการร้องเพลงและได้รับปริญญาบัตรศิลปศาสตร์สาขาดนตรีอีกด้วย
ขณะที่อยู่กับวิทยาลัยเธอได้เข้าร่วมกับวงดนตรี เทนบัคส์โวธ, คอรัล และ วีเมนส์ เอนเซมเบิล

หลังจากเรียนจบ เธอก็เข้าทำงานแสดงที่ ซิกซ์ แฟลกส์ ในจอร์เจียเป็นเวลา 2 ปี
แล้วก็เริ่มท่อเงที่ยวในยุโรป โดยขณะที่แสดงการร้องเพลงบนเรือสำราญ
เธอยัง ใช้เวลา 6 ปีแสดงที่ ดอลลีวู๊ด และได้แสดงร่วมกับ ดอลลี พาร์ตันด้วย
นอกจากนั้นเธอยังทำงานเป็น นายหน้าขายอสังหาริมทรัพย์ ครูสอนร้องเพลง สอนเต้น ครูฝึกนางงาม และ นางแบบอีกด้วย

เมลินดาอธิบายตัวเองว่าเป็นคนที่มี สีสัน ชอบการแข่งขันและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ยามว่างของเธอคือการ ออกแบบของตกแต่งบ้าน สะสมของที่เกี่ยวกับ มาริลีน มอนโรว์ ดูละครของช่องซีบีเอส และ วิ่งจ็อกกิ้ง

ปัจจุบันเธอยังโสดอยู่ และอาศัยอยู่ที่เซเวียวิลล์ รัฐเทนเนสซี กับสุนัขปอมเมเรเนี่ยน ของเธอ, เล็กซี่
เธอเกิดวันที่ 23 พฤษภาคม 1973 ราศีเมถุน ปีฉลู


วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ห้องอนาคต



�
เรื่องในเล่ม

ห้องอนาคต
เช็คสเปียร์แห่งอนาคต
เหนือกาลเวลา
ณ.ที่จบสิ้นแห่งวัน
เวลาคือเงิน
อดีตกับอนาคต
จดหมายลาตาย
พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้
ชายในชุดแอสเบสโตส
เวลาที่ไม่รู้จบ
งูกินหาง
เสียงแห่งกาลเวลามีการสร้างเป็นภาพยนตร์แล้ว
ไอ้โม่งกับมนุษย์นาฬิกา
ผู้ล้ำเวลา
ลูกศรแห่งกาลเวลา

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550


สารบัญ



ผลงาน

Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (ภาพยนตร์, วีซีดี, ดีวีดี)

ภาพยนตร์
อัลบั้ม : Special album inspiration from Seasons Change. CD และ VCD
รายชื่อเพลง :
1. ฤดูรัก - ต่าย
4. ยึกยัก - ต่าย, นาถ
5. วัดใจ - ต่าย, นาถ, บอล, ว่าน, พลุ
10. วันนั้น วันนี้ วันไหน - ต่าย, นาถ, บอล, ว่าน, พลุ


ชุติมา
โฆษณาโทรทัศน์

พาย : เธอก็รู้
ฟาเรนไฮต์ (วงดนตรี) : น้ำตาคือคำตอบ
บอย พีชเมคเกอร์ : ฉันพร้อม

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550


สารบัญ
ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนามาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2300 อังกฤษได้เข้าไปยึดครองชมพูทวีป และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก
ต่อมาชาวเบงกาลีในปากีสถานตะวันออก ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้ปากีสถานทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกาลีจึงจัดตั้งพรรค Aw! ami League (AL) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกาลี โดยมี Sheikh Mujibur Rahman เป็นหัวหน้า
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวันตกส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม อินเดียได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่ายปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้ในการรบ และยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514
ในระยะแรก บังกลาเทศปกครองโดยระบอบประธานาธิบดี มีนาย Sheikh Mujibur Rahman หัวหน้าพรรค AL เป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation) ประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระ�! �่ำระสาย และเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง
ในปี พ.ศ. 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 นาง Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในว! ันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League (AL), พรรค Jatiya Party (JP), และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman )ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้ง! แรกของบังกลาเทศ ระหว่างพ รรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาล และเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP
ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำขอนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป�! ��ายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการ หรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรี และนาย Latifur Rahman ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณ! ะรัฐบาล ซึ่งคณะที่ปรึกษา ดังกล่าวได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544



ประวัติศาสตร์
ฝ่ายนิติบัญญัติ บังกลาเทศมีเพียงสภาเดียว คือ Jatiya Sangsad หรือสภาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 300 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี โดยมี Barrister Muhammad Jamiruddin Sircar เป็นประธานสภาแห่งชาติคนปัจจุบัน (โดยประธานสภาจะดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการประธานาธิบดี หากประธานาธิบดีไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้)
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกสรรโดยรัฐสภา และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี มีบทบาทหน้าที่ในด้านพิธีการ มีอำนาจในการแต่งตั้งรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะผู้พิพากษาและคณะผู้พิพากษา แต่เมื่ออยู่ในฐานะผู้รักษาการขณะที่ไม่มีรัฐบาล ประธานาธิบดีจะมีอำนาจเพิ่ม! ขึ้นในการควบคุมกระทรวงกลาโหมและสามารถประกาศกฎอัยการศึก รวมทั้งสามารถยุบสภาฯ ตามที่ได้รับการเสนอโดยนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการได้ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. Iajuddin Ahmed ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2545 พรรคที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาจะได้รับโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลก่อน โดยหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากจะได้รับการแต่งตั้งจากประธา�! �าธิบดีให้ดำรงตำแหน่งนาย กรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ล่าสุดพรรค Bangladesh Nationalist Party นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี 2544 เเละได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549 ปัจจุบันมีรัฐบาลรักษาการโดยมี ดร. Fakhruddin Ahmed ดำรงตำเหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ (Chief of Caretaker Government) เพื่อดูแลกระทรวงต่างๆ และเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2550
ฝ่ายตุลาการ บังกลาเทศใช้ระบบศาลแบบอังกฤษ โดยมีทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยศาลฎีกา(Supreme Court) เป็นศาลสูงสุดซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือ Appellate Division และ High Court Division และยังมีศาลระดับล่างได้แก่ district courts thana courts และ village courts นอกจากนี้ยังมีศาลพิเศษอื่นๆ เช่น ศาลครอบครัว ศาลแรงงาน เป็นต้น
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธมาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้ ในปี 2300 อังกฤษได้เข้าไปยึดครองชมพู�! �วีป และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของ อังกฤษเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี 2490 ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก ต่อมาชาวเบงกาลีในปากีสถานตะวันออกไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเห�! ��ื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว� �างปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้ปากีสถานทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรมและเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกาลีจึงจัดตั้งพรรค Awami League (AL) ขึ้นเมื่อปี 2492 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกาลี โดยมี Sheikh Mujibur Rahman เป็นหัวหน้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2514 ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวัน�! ��กส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม อินเดียได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่ายปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้ในการรบและยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2514 มีนาย Sheikh Mujibur Rahman หัวหน้าพรรค AL ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของบังกลาเทศ โดยเป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation)
พัฒนาการทางการเมืองของบังกลาเทศภายหลังเอกราช ประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายและเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประ�! ��านาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง ในปี 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโด�! ��นาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และ เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี 2535 นาง Khaledia Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้านซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League พรรค Jatiya Party (JP) และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia ลาออก ผลการเลือกตั้งปร! ากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman )ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาลและเ�! ��้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านก� �บพรรค BNP ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภ�! ��ยใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการหรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรีและนาย Latifur Rahman ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 15 กรกฎาคม 2544 นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐ�! �าล ต่อมาในการเลือกตั้งท� �่วไปเดือนตุลาคม 2544 พรรค BNP ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งและ นาง Khaleda Zia ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 เเละได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549
สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ตามที่รัฐบาลบังกลาเทศของนาง Khaleda Zia ได้สิ้นสุดวาระการบริหารประเทศ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ประธานาธิบดีแต่งตั้งอดีตประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเพื่อจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้คัดค้านการแต่งตั้งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าประธานศาลฎีกามีความใกล้ชิดกับพรรครัฐบาล ประธานาธิบดี Iajuddin Ahm! ed ได้ตัดสินใจเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลรักษาการและคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง และได้นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการจลาจล และการถอนตัวจากการเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในที่สุดประธานาธิบดีจึงได้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้า�! �ัฐบาลรักษาการเมื่อวันที ่ 11 มกราคม 2550 พร้อมทั้งประกาศเลื่อนการเลือกตั้งซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 22 มกราคม 2550 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด นาย Fakhruddin Ahmed อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งบังกลาเทศได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการต่อจากประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 โดยมีภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลรักษาการชุดใหม่ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และจัดการเลือกตั้งที่ บริสุทธ�! �์ยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและนอกประเทศ โดยจะดำเนินการดังนี้ 1) แยกศาลยุติธรรมออกจากฝ่ายการเมือง 2) ปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ถูกต้อง 3) ปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้ง 4) ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นและกลุ่มอิทธิพล และ 5) ทำให้ระบบราชการปลอดจากการครอบงำทางการเมือง ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลรักษาการของบังกลาเทศจะใช้เวลาในการปฏิรูปก! ารเมืองประมาณ 6 – 9 เดือนก่� ��นที่จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่
นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน บังกลาเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีพรรคสำคัญ 2 พรรคคือพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) และพรรค Awami League (AL) โดยที่ทั้งสองพรรคได้ผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้านตลอดมา
ด้านความมั่นคง รัฐบาลบังกลาเทศที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อปราบปรามการก่อการร้าย เช่น การจับกุมการค้าอาวุธที่ผิดกฎหมาย การจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกระบุแน่ชัดว่าเป็นผู้ก่อการร้าย การประกาศว่ารัฐบาลจะไม่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย การปราบปรามกิจกรรมการก่อการร้ายในสถานศึกษา การจัดการประชุมระดับชาติเกี่ยวกับการต่อต้านก�! ��รก่อการร้าย การสืบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดต่าง ๆ และการจัดตั้งการปฏิบัติการ "Operation Clean Heart" ซึ่ง เป็นการรวมกองกำลังทหารร่วมกับตำรวจในการจับกุมผู้ต้องสงสัยเรื่องการก่อการร้ายทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลชุดที่ผ่านมายังประกาศที่จะยกเลิกกฎหมายต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งออกโดยรัฐบาลในอดีต อย่างไรก็ดี นโยบายการปราบปรามการก่อการร้ายได้ถูกวิพ�! �กษ์วิจารย์จากพรรคฝ่ายค้ าน นักศึกษา และประชาชนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกระทำไปเพื่อจำกัดบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล
ด้านเศรษฐกิจ แม้บังกลาเทศจะเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งไทยไม่ควรมองข้าม โดยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรทางทะเล พร้อมกันนี้ยังสามารถเป็นตลาดสินค้าต่าง ๆ ของไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจบริการจะทำรายไ�! �้ให้กับบังกลาเทศคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของ GDP แต่ประชาชนบังกลาเทศส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และประกอบอาชีพเกษตรกร รัฐบาลบังกลาเทศเน้นในเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom) โดยใช้การทูตเชิงเศรษฐกิจ (economic diplomacy) ให้ความสำคัญกับการดึงการลงทุนจากต่างชาติ (อนุญาตให้คนต่างชาติลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับชาวบังกลาเทศ) รวมทั้งการเรียกความเชื่อมั่นในกา! รลงทุนในตลาดหุ้นของนักล� ��ทุนทั้งภายในและจากต่างประเทศให้กลับคืนมา กระตุ้นการส่งออกโดยเฉพาะการเพิ่มโควต้าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศ การส่งเสริมให้แรงงานบังกลาเทศไปทำงานในต่างประเทศ และการทบทวนเรื่องการให้ visa on arrival กับประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
การค้า บังกลาเทศยึดหลักเศรษฐกิจการตลาด มีนโยบายส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ดี โดยที่การส่งออกของบังกลาเทศขึ้นอยู่กับสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดและมีตลาดส่งออกที่จำกัดเพียงไม่กี่ประเทศ (โดยร้อยละ 76 ของการส่งออกทั้งหมดเป็นสินค้าสิ่งทอที่ส่งไปยุโรป) จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายให้กับตัวสินค้าและหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปร�! ��มาณการส่งออกให้มากที่สุดและลดการขาดดุลการค้า บังกลาเทศพึ่งพาการนำเข้าจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ มีมูลค่าถึงปีละ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลล่าสุดได้มั่งเน้นนโยบายที่จะหันไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดการพิ่งพาอินเดียลง สวนปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ได้แก่ การห้ามนำเข้าหรือการจำกัดโควต้าข้าวและน้ำตาล รวมทั้งปัญหาด้านก�! ��รขนส่ง เป็นต้น ระบบพิธีก ารศุลกากรมาตรการที่มิใช่ทางภาษี เช่น การห้ามนำเข้าหรือจำกัดโควต้า
การลงทุน ตั้งแต่ต้นปี 2533 บังกลาเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายหลายประการเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของต่างชาติ อนุญาตให้ส่งผลกำไรและรายได้ออกไปต่างประเทศได้โดยเสรี และมีมาตรการให้ความสำคัญกับบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศ เป็นต้น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศ รอ! งลงมา คือ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร อุตสาหกรรมที่ควรเข้าไปลงทุน ได้แก่ ด้านการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีมากถึง 11 ล้านล้านตารางฟุต ด้านสาธารณูปโภค ด้านประมง (แต่ปัจจุบันรัฐบาลบังกลาเทศยังไม่มีนโยบายที่จะเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในการจับปลาในบังกลาเทศ) การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้านอุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง อุตสาหกรรมเบ�! � ด้านบริการต่าง ๆ และด้าน การผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคขั้นพื้นฐาน อุปสรรคที่สำคัญที่ขัดขวางการลงทุน ได้แก่ การประสบภัยจากพายุไซโคลนและอุทกภัยบ่อยครั้ง การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ และปัญหาการเมืองภายในประเทศโดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง (hartal) ของพรรคฝ่ายค้านที่มีอยู่เป็นประจำ
ด้านต่างประเทศ รัฐบาลชุดล่าสุดได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งเสริมสร้างผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบมุ่งตะวันออก (Look East) โดยการกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย พม่า และกลุ่มอาเซียน ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของนโยบายต่างประเทศบังกลาเทศ การเดินทางเยือนภูมิภาคเอเชียของ�! �ายกรัฐมนตรีบังกลาเทศอย่างต่อเนื่อง นับเป็นประจักษ์พยานที่ดีต่อการเสริมสร้างนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสนับสนุนผลประโยชน์ของบังกลาเทศในประเทศใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบมุ่งตะวันออกของบังกลาเทศนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการลดอิทธิพลของอินเดียที่มีต่อบังกลาเทศลงด้วยนอกจากนี้ บังกลาเทศมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง ซึ่งม�! �บทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจบั งกลาเทศในด้านพลังงาน การส่งออกแรงงาน และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศ และในฐานะที่เป็นประเทศ OIC ปัจจุบัน บังกลาเทศเป็นสมาชิก BIMSTEC ACD SAARC NAM และ ARF และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการสนับสนุนภารกิจการรักษาสันติภาพ มีทหารบังกลาเทศจำนวน 9,758 ราย ปฏิบัติใน 1 2 ภารกิจทั่วโลก (ร้อยละ 14 ของกองกำลังรักษาสันติภาพทั้งหมด) ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของบังกลาเทศในทาง! ที่ดี


ประเทศบังกลาเทศ
การเมือง
บังกลาเทศแบ่งเป็น 6 เขตการบริหาร (administrative divisions) ซึ่งมีชื่อตามเมืองหลวงของเขต ดังนี้:

เขตขุลนา (Khulna)
เขตจิตตะกอง (Chittagong)
เขตซิลเหต (Sylhet)
เขตธากา (Dhaka)
เขตบาริซาล (Barisal)
เขตราชชาหิ (Rajshahi)

การแบ่งเขตการปกครอง
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)



ภูมิศาสตร์
ประเทศบังกลาเทศตั้งอยู่ริมอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียอยู่เสมอ เศรษฐกิจของบังกลาเทศจึงขึ้นอยู่กับการเพาะปลุกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะปอกระเจา ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการถักกระสอบ แต่เนื่องจากบังกลาเทศมักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ เนื่องจากเป็นจุดที่พายุไซโคลนเข้ามากที่สุดในบรรดาประเทศในเอเชียใต้ ทำใ! ห้การเพาะปลูกของบังคลาเทศก็ไม่ค่อยดีนัก ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมของบังกลาเทศส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตร เช่น สิ่งทอ กระดาษ น้ำตาล เป็นต้น

สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า ปอกระเจา เครื่อแต่งกาย อาหารทะเลและปลาแช่แข็ง ประเทศผู้ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี
สินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า ปิโตรเลียม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน



สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า ปอกระเจา เครื่อแต่งกาย อาหารทะเลและปลาแช่แข็ง ประเทศผู้ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี
สินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า ปิโตรเลียม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน

ประชากร
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)


วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550

คลองลัดโพธิ์

คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณเขตจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร (ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) เดิมที่มีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ำ" (Diversion) ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรร�! �การประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) มีหลักการคือ จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกระเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร นั้นทำให้การระบายน้ำที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ำทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯจึงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่�! ��เดิมมีความตื้นเขินมีคว� �มยาวราว 600 เมตร ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีกระแสร์พระราชดำรัสถึง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2549 ว่าเป็นสถานที่ตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำ ที่ต้องการความรู้เรื่องเกี่ยวกับเวลาน้ำขึ้นน้ำลง หากบริหารจัดการให้ถูกต้องจ�! �สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้


วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ปลาฉลาม

Carcharhiniformes
Heterodontiformes
Hexanchiformes
Lamniformes
Orectolobiformes
Pristiophoriformes
Squaliformes
Squatiniformes
ฉลาม (ภาษาอังกฤษ Shark ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีฟันแหลมคม
ปลาฉลามบางชนิดจะมีเหาฉลามอาศัยอยู่ ปลาฉลามวอบบีกอง(Wobbegong shark)เป็นปลาฉลามที่พรางตัวให้กลืนกับท้องทะเล ปลาฉลามวาฬเป็นปลาฉลามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปลาฉลามอาจว่ายน้ำได้เร็วถึง 35 กม./ชม.ปลาฉลามส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นไข่
ฉลามมีหลายชนิดเช่น


ปลาฉลามวาฬ (Whale shark)
ปลาฉลามวอบบีกอง (Wobbegong shark)
ปลาฉลามหางยาว (Thresher shark)
ปลาฉลามหิน (Nurse shark)
ปลาฉลามหัวค้อน (Hammerhead shark)
ปลาฉลามกินคน (Mako shark)
ปลาฉลามหัวบาตร (Bull shark)
ปลาฉลามครีบดำ (Blacktip reef shark)
ปลาฉลามเลมอน (Lemon shark)
ปลาฉลามขาวยักษ์ (white giant shark

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เครื่องหมายทางพันธุกรรม

เครื่องหมายทางพันธุกรรม (อังกฤษ:genetic marker) เป็นการค้นพบลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า ซิงเกล นิวคลิโอไทด์ พอลิมอร์ฟิซึม(single nucleotide polymorphism-SNP) หรือ การผ่าเหล่าอย่างง่าย ซึ่งจะเกิดขึ้นในส่วนสำคัญของ DNA ในจีโนมเฉพาะ SNP สามารถจะเกิดร่วมกับการมีโรคทางพันธุกรรม หรือทำให้ DNA ไม่แสดงผลอะไรซึ่งรียกว่าเป็น DNA ขยะ แต่ก็มีประโยชน์ในการศึกษาประชากร


วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) (อังกฤษ: Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives) ทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ทั้งโดยตรงและสู่สถาบันเกษตรกร มุ่งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือการดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์การเกษตร สามารถประกอบอาชีพอย! ่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวเกษตรกร รวมทั้งให้บริการรับฝากเงิน เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไปอีกด้วย


วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2550

รัฐปีนัง

ปีนัง เดิมชาวมาเลย์รุ่นแรกเรียกว่า ปูเลา วา ซาตู หรือ เกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลา ปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ และเมื่อมาเลเซียได้รับเอกราช จึงเปลี่ยนเป็นปูเลา ปีนัง อีกครั้ง


ส้มโอ

ส้มโอ (Pomelo) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม (ผลไม้) ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มีรสหวาน มีวิตามินซีมาก
ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ



�Aperture

บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่ายังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
aperture priority เป็นโหมดของการปรับตั้งค่าการถ่ายภาพกึ่งอัตโนมัติแบบหนึ่ง โดยโหมดนี้มักใช้ตัวย่อเป็น Av การปรับตั้งค่าการถ่ายภาพแบบ Aperture priority นี้ ผู้ถ่ายภาพสามารถเลือกตั้งค่าขนาดของรูรับแสง (aperture)ตามที่ต้องการได้ เมื่อตั้งค่าขนาดของรูรับแสงแล้วกล้องจะตั้งค่าของระยะเวลาในการเปิดม่านบังแสง (shutter)ที่เหมาะสมเองโดยอัตโนมัติ